วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

คุณเป็นนักแปลที่ดีหรือไม่

ผู้แปล หมายถึงผู้ผลิตงานแปล ผู้แปลนั้นตามแนวทฤษฏีเกี่ยวกับการแปลในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงคนกลางระหว่างภาษาเท่านั้น แต่เป็นคนกลางระหว่างวัฒนธรรมอีกด้วย และที่จริงแล้ว ผู้แปลไม่ได้เป็นเพียงคนกลางเท่านั้น ยังสามารถจัดให้ผู้แปลเป็นผู้สร้างสรรค์งานอย่างอิสระอีกด้วย ในทฤษฎีการแปลของ ไร้สและแฟร์เมียร์ ถือว่า ผู้แปลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในกระบวนการแปล และที่สำคัญคือ เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้านคือ

1. ความสามารถในการแปล
 2. ความเข้าใจของผู้แปลเกี่ยวกับตัวบทต้นฉบับ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์และตีความ ผู้แปลแต่ละคนอาจตีความต่างกันไป 3. ความเข้าใจส่วนตัวของผู้แปลเกี่ยวกับคุณภาพของงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาหรือรูปแบบ
 4. การตัดสินใจของผู้แปลในการเลือกวิธีการแบบใดแบบหนึ่ง องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นล้วนเป็นสิ่งที่มีผลกระทบหรือเป็นเครื่องกำหนดกระบวนการแปลที่ทำให้เกิดงานแปลขึ้นมา

  คุณสมบัติของนักแปล นักแปลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ดังนี้คือ
1. คุณสมบัติส่วนตัว 

  • มีใจรักงานแปล 
  • รักการอ่าน 
  • มีความสามารถในการอ่าน 
  • มีความตั้งใจและความมั่นใจสูง 
  • มีความระเอียดรอบคอบ และระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำและภาษา 
  • มีจรรยาบรรณของนักแปล 
  • มีความรู้ดี เฉลียวฉลาด 
  • มีจิตใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นและวิพากษ์วิจาร์ของผู้อื่น 

2. ความรู้ 

  •  มีความรู้ในภาษาทั้งสองเป็นอย่างดี 
  •  มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง 
  •  รักการค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่มเติมตลอดเวลา
  • มีความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะแปล 

มีความรู้ภูมิหลังเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติที่เป็นเจ้าของภาษาต้นฉบับ
3. ความสามารถ

  •  สามารถตีความภาษาต้นฉบับได้อย่างดี 
  •  มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ 
  •  มีความสามารถในการส่งสาร 
  •  มีความคิดสร้างสรรค์และมีจิตนาการ 
  •   มีความสามารถในการแบ่งขั้นตอนในการแปล 


4. ประสบการณ์ 

  •  ฝึกฝนการแปลอยู่เสมอ 
  •  มีความรู้ในงานหลายสาขา 
  •  มีความเข้าในระบบงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่แปล 
  •  หาความรู้ และเข้ารับการอบรมทางด้านการแปล 
  •  รักการอ่านงานแปลของคนอื่นๆ เพื่อศึกษาจุดดีและจุดบกพร่อง


  สรุปคุณสมบัติของนักแปล 
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลเป็นอย่างดี และหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
 2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ นอกเหนือจากด้านภาษาในการแปลเรื่องที่ผู้แปลไม่มีความรู้ ก็จะต้องพยายามค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
 3. เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษามาทางด้านไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษารวมทั้งการใช้ภาษา
 4. เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังคว่ามคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ถือเอาของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะการแปลนั้นอาจจะแปลได้หลายแบบ
 5. เป็นผู้ที่สามารถอุทิศเวลาให้การแปล

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

Learning Thai

I earned my Bachelor of Education in 1976 at the time of the revolution and chose to contribute by volunteer teaching for two years. I then spent the next nineteen years on and off in Bangkok, seven of those years teaching mathematics, English and computer science in various schools and technical colleges.

I moved to Pattaya in 1996 as principal of the Laem Chabang Technical College, a position I  didn’t particularly enjoy, and in 1999 it was time to do something for myself and I opened my own business college in Jomtien, called “Inter Network” where I taught Thai and English, computer courses and Internet services. I also run an on line newspaper, www.pattayadailynews.com as the editor and the owner. Now,I have no responsibilities to the website [not legally]. 

I enjoyed teaching Thai conversation to foreigners. I like to make learning fun. A lot of people said good teachers are definitely born - not made. Well, I have to thank my parents.

I had moved to Phitsanulok since 2011 and now I enjoy running my new environment. We provide English-to-Thai and Thai-to-English language translation services. Native Thai translators and editors. As you’d probably known that all kinds of documents are needed to be translated, when applying for Visas or getting married or getting divorce,involved with a Thai person.


Please Contact us here
Tel: +66 (0)089-707-2874
Facebook: https://www.facebook.com/English2Thaiservice









หลักการใช้ tense ทั้ง 12 ( Version 2)

หลักการใช้แต่ละ  tense  มีดังนี้
              [1.1]   Present  simple  tense    เช่น    He  walks.   เขาเดิน,

1.    ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย  

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด  (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม)

3.    ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้   เช่น  รัก,  เข้าใจ, รู้  เป็นต้น

4.    ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).

5.    ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต  เช่นนิยาย นิทาน

6.    ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต    ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า    If    (ถ้า),       unless

   (เว้นเสียแต่ว่า),    as  soon  as  (เมื่อ,ขณะที่),    till  (จนกระทั่ง) ,   whenever 

   (เมื่อไรก็ ตาม),    while  (ขณะที่)   เป็นต้น

7.    ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ  และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย  เช่น  always

  (เสมอๆ),  often   (บ่อยๆ),    every  day   (ทุกๆวัน)    เป็นต้น

8.    ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น  [1.1]  ประโยคตามต้องใช้   [1.1]  ด้วยเสมอ

 

[1.2]   Present  continuous  tense   เช่น   He  is  walking.  เขากำลังเดิน

1.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้  now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือ

สุดประโยคก็ ได้)

2.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ในวันนี้ ,ในปีนี้

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้

*หมายเหตุ   กริยาที่ทำนานไม่ได้  เช่น  รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ  จะนำมาแต่งใน  Tense  นี้ไม่ได้

 

            [1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว

1.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน  และจะมีคำว่า Since  (ตั้งแต่) และ

for  (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และ

จะมีคำ ว่า  ever  (เคย) ,  never  (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้   Tense

4.    ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ  Just 

  (เพิ่งจะ), already  (เรียบร้อยแล้ว), yet  (ยัง), finally  (ในที่สุด)  เป็นต้น

 

   [1.4] Present  perfect  continuous  tense    เช่น  He  has  been

  walking .  เขาได้กำลังเดินแล้ว

*  มีหลักการใช้เหมือน  [1.3]  ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย    ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้น

ว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  ส่วน [1.4]  นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย

 

             [2.1] Past  simple  tense      เช่น  He  walked.  เขาเดิน แล้ว

1.   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น  Yesterday, year  เป็นต้น

2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always,

every  day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น  yesterday,  last  month )  2  อย่างมาร่วม

อยู่ด้วยเสมอ

3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว  ซึ่งจะมี

คำว่า  ago  นี้ร่วมอยู่ด้วย

4.      ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1]  ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1]  ด้วย

 

        [2.2]   Past continuous  tense   เช่น    He  was  walking .  เขา

กำลังเดินแล้ว

1.     ใช้กับเหตุการณ์   2   อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  { 2.2  นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง – ถ้าเกิดก่อนใช้  2.2

   –  ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}

2.     ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค  ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค  เช่น  all  day  yesterday  etc.

3.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น  หากเป็นกริยาที่ทำนาน

ไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1  กับ  2.2  จะดูจืดชืดเช่น   He  was  cleaning  the 

house  while  I was  cooking  breakfast.

 

         [2.3]   Past  perfect  tense    เช่น  He  had walk.  เขาได้เดินแล้ว.

1.    ใช้กับ เหตุการณ์  2  อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต  มีหลักการใช้ดังนี้เกิดก่อนใช้  2.3  เกิดทีหลังใช้  2.1.

2.     ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุก

ครั้ง  เช่น   She  had  breakfast  at  eight o’ clock  yesterday

 

        [2.4]   past  perfect  continuous  tense    เช่น   He  had  been  walking.

           มีหลักการใช้เหมือนกับ  2.3  ทุกกรณี  เพียงแต่  tense  นี้  ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการ

กระทำที่ 1  ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่  2  โดยมิได้หยุด  เช่น  When  we  arrive 

at  the  meeting ,  the  lecturer  had  been  speaking  for  an 

hour  .   เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม  ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1  ชั่วโมง

 

  [3.1]   Future  simple  tense      เช่น   He  will  walk.    เขาจะเดิน

              ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งจะมีคำว่า  tomorrow,  to  night,  next

  week,  next  month   เป็นต้น  มาร่วมอยู่ด้วย

           * Shall   ใช้กับ     I    we.

             Will    ใช้กับบุรุษที่  2  และนามทั่วๆไป

             Will,  shall  จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่

             Will,  shall   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้

             Be  going  to  (จะ)  ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น  ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติ

และนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

 

       [3.2]    Future   continuous    tense    เช่น   He  will  be

  walking.    เขากำลังจะ เดิน

1.     ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ)

2.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต  มีกลักการใช้ดังนี้

               –   เกิดก่อนใช้    3.2      S  +  will  be,  shall  be  +  Verb 1  ing.

                –  เกิดทีหลังใช้   1.1     S  +  Verb  1

 

        [3.3]   Future   prefect  tens    เช่น  He  will  walked.  เขาจะได้เดินแล้ว

1.  ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยจะมีคำว่า  by  นำหน้ากลุ่มคำที่บอก

เวลา ด้วย  เช่น   by  tomorrow  ,   by  next  week   เป็น ต้น

2.  ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้

              –      เกิดก่อนใช้   3.3      S  +  will, shall  +  have  +  Verb 3

              –      เกิด ที่หลังใช้   1.1    S  +  Verb 1

 

        [3.4]  Future  prefect  continuous  tense เช่น He  will  have

  been  walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว

          ใช้เหมือน  3.3  ต่างกันเพียงแต่ว่า  3.4  นี้เน้นถึงการกระทำที่  1  ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่  2  และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.

           *   Tense  นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก  โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน  Tense  นี้เด็ดขาด.