วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย

ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่ามีบางคำที่ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก ดิฉันจึงเสนอคำศัพท์สัก 10 ตัวอย่างที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆพร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้ เวลาคุยกับฝรั่ง เริ่มเลยแล้วกันค่ะ

1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยหรอกค่ะ เค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้

2) เว่อร์ (over) เช่น ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น
 "He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
"No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)


3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากล่ะค่ะ
ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น
ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะคะ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กฏการเติม ed ที่คำกริยา Regular Verbs

กฏการเติม ed ที่คำกริยา   Regular Verbs

       กริยาส่วนใหญ่มีรูป Simple Past Tense ด้วยการเติม ed มีกริยาบางคำเวลาเติม ed ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีข้อสังเกตดังนี้

   1. กริยาซึ่งลงท้ายด้วย e อยู่เเล้ว คงเติมเฉพาะ d  เช่น
hope
-
hoped
หวัง
move
-
moved
เคลื่อนไหว
free
-
freed
อิสระ
agree
-
agreed
เห็นด้วย
raise
-
raised
ยกขึ้น




   2. กริยาซึ่งลงท้ายด้วย y   ให้เปลี่ยน y เป็น i เเล้วเติม ed  เช่น
cry
-
cried
ร้อง
reply
-
replied
เชื่อถือ
carry
-
carried
เเบก, ถือ
try
-
tried
พยายาม




       แต่ถ้าหน้า y  มีสระ (vowel) คือ a, e, i, o, u  คงเติม ed ได้ทันที  ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i   เช่น
play
-
played
เล่น
obey
-
obeyed
เชื่อฟัง
delay
-
delayed
ชักช้า
enjoy
-
enjoyed
เพลิดเพลิน
stay
-
stayed
พักอาศัย




   3. กริยาพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ed   เช่น
hop
-
hopped
กระโดด
beg
-
begged
ขอร้อง
plan
-
planned
วางแผนการ
nod
-
nodded
พยักหน้า
rub
-
rubbed
ถู, ลบ
stir

stirred
คน,ทำให้ทั่ว
stop

stopped
หยุด
       ยกเว้น ถ้าลงท้ายด้วย h, w, x, y ไม่ต้องเติมพยัญชนะท้าย  เช่น
tax
-
taxed
เก็บภาษี
tow
-
towed
ลากด้วยเชือก




   4. กริยามี 2 พยางค์ เเต่ลงเสียงหนักพยางค์ท้าย เเละพยางค์ท้ายมีสระตัวเดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก ตัว เเล้วจึงเติม ed   เช่น

concur
-
concurred
ตกลง, เห็นด้วย
occur
-
occurred
เกิดขึ้น
refer
-
referred
อ้างถึง
permit
-
permitted
อนุญาต




       - ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์เเรก ไม่เดินตามกฏข้างบนนี้ (ไม่ต้องเพิ่มพยัญชนะท้ายอีกตัวหนึ่ง)  เช่น
cover
-
covered
เก็บภาษี
open
-
opened
ลากด้วยเชือก
gather

gathered
รวม, จับกลุ่ม
       - ถ้าลงท้าย h, w, x, y  ไม่ต้องเพิ่ิมพยัญชนะท้าย   เช่น  allow  -  allowed   อนุญาต, ยอมให้

   5. กริยามี 2 พยางค์ ลงท้ายด้วย l ตัวเดียว เเละมีสระพยางค์ท้ายตัวเดียว ต้องเพิ่ม l ก่อนเติม ed
travel
-
travelled
เดินทาง
fulfil
-
fulfilled
ทำให้สำเร็จ
control

controlled
ควบคุม
         ถ้าเป็นภาษา English American ไม่ต้องเพิ่ม l   เช่น   traveled

เชื่อว่าคนที่เรียนภาษาอังกฤษหลายๆคนคงอาจจะเคยเรียนมาแต่จำไม่ได้ว่าคำกริยาที่อยู่ในรูปอดีต หรือ Past-tense ที่ต่อท้ายคำด้วย "ed" นั้น มีหลักการออกเสียงค่อนข้างหลากหลาย และหลายคนอาจจะกำลังออกเสียง
stop (แปลว่าหยุด) ช่อง 2 หรือช่องอดีต คือ stopped บางคนออกเสียงว่า "สทอพพิด" หรือ "สต็อปเป็ด" ซึ่งเป็นการออกเสียงที่ผิด โดยที่ถูกต้องต้องออกเสียงว่า "สต็อปทึ" เปลี่ยน ed ให้เป็นเสียง /t/ คะ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนต้องเปลี่ยนเสียงเป็นอะไร

มีหลักการจำอยู่ 3 ข้อหลักๆ โดย 3 วิธีการออกเสียงนี้จะแบ่งออกตามพยัญชนะตัวสุดท้ายก่อนที่จะเติม "ed"

1. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย p, f, gh, s, ce, k, ch, sh, sk และ sp ก่อนเติม ed เวลาออกเสียงให้เปลี่ยน ed เป็น t คะ ซึ่งจะได้เสียงเป็น
...ped                = /pt/     เช่น   raped,   stopped,   ripped,   sipped
...fed, ...ghed     = /ft/     เช่น   laughed,   stuffed,   beefed,   puffed
...sed, ...ced       = /st/     เช่น   faced,   kissed,   hissed,   passed
...ked                 = /kt/    เช่น   faked,   knocked,   kicked,   raked
...tched, ..ched   = /cht/   เช่น   matched,   watched,   hitched,   coached
...shed               = /sht/   เช่น   mashed,   cashed,   wished,   washed
...sked               = /skt/   เช่น   asked,   masked,   tasked
...sped               = /spt/   เช่น   grasped 


2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย t และ d ก่อนเติม ed เวลาออกเสียงไม่ต้องผันเป็นเสียงอื่นแต่ให้เปรียบ ed เสมือนเป็นสระและตัวสะกดต่อท้าย
..ted   = /tid/  ออกเสียงเป็น ทิด หรือ เท็ด เช่น wanted = ว้อนเท็ด ตัวอย่างอื่น hated, presented, departed
..ded  = /did/ ออกเสียงเป็น ดิด หรือ เด็ด เช่น needed = นีดเด็ด ตัวอย่างอื่น ended, rounded,


3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะหรือเสียงอื่นๆ เช่น b, g, l, m, n, r, w, y, z ก่อนเติม ed โดยคำพวกนี้จะออกเสียง ด หรือ ดึ แบบเสียงก้อง หรือ voiced sounds (คือเสียงที่เวลาออกแล้วเส้นเสียงในลำคอจะบีบแคบลงและสั่น) เช่น

described ดิสไครบ์ดึ (อย่าลืมทำเสียงก้องตอนท้ายตรง บ์ดึ)
ตัวอย่าคำอื่นเช่น  loved, played, called, cleared, followed, enjoyed, amazed, used, damaged, cleaned


การฝึกอ่านภาษาอังกฤษเป็นประจำจะทำให้เราจำการออกเสียงได้โดยอัตโนมัติค่ะ อย่าลืมฝึกอ่านออกเสียงกันบ่อยๆนะคะ เวลาเราสนทนาเป็นภาษาอังกฤษเราจะได้ออกเสียงคำนั้นๆได้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษจะต่างจากภาษาไทยตรงที่เขาจะมีกาลเวลา หรือ tense เวลาพูด หากเราออกเสียงผิด ไม่ใช่แค่ความหมายผิด เพราะกาลหรือช่วงเวลาในประโยคนั้นๆก็จะผิดตามไปด้วยค่ะ

การใช้ verb to have 7 แบบ


1.   have/ has / had + noun = มี..
ฉันมีพี่ชาย 2 คน พี่สาว 1 คน
I have two brothers and one sister.

เขาจะมีปาร์ตี้ พรุ่งนี้
He will have a party tomorrow.

เขาจะมีปาร์ตี้เมื่อไหร่?
When will he have a party?

พ่อมี รถ 2 คัน
My father has two cars.

คุณมีการบ้านไหม
Do you have any homework?

หล่อนมี ตาโต สีฟ้า
She’s got large blue eyes.

2.have/ has / had + sickness( อาการป่วยไข้)
I have a headache.
I think she has a fever.
She couldn’t come to school, because she had a toothache.


3.have/ has / had + meal( มื้ออาหาร)
breakfast อาหารเช้า
lunch อาหารกลางวัน
dinner อาหารเย็น

a.             เขาทานอาหารเช้ากับแม่ทุกวัน
He has breakfast with his mother everyday.
b.            คุณทานอาหารเย็นโดยปรกติ กี่โมง
What time do you normally have dinner?
c.             พวกเขาทานอาหารกลางวันที่โรงเรียน ใช่ไหม?
Do they have lunch at school?
d.            คุณทานอาหารเย็นที่ไหนเมื่อวานนี้?
Where did you have dinner yesterday?