วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

phrasal verbs (กริยาวลี)



Phrasal verbs
หรือ กริยาวลี คือกลุ่มคำกริยาที่ประกอบไปด้วย คำกริยา (verb)และคำบุพบท (preposition) เมื่อรวมกันแล้วความหมายมักจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น
give up   แปลว่า   เลิก, หยุด     (เราไม่สามารถแปล give ว่า ให้ และ up แปลว่า ขึ้น แล้วนำมารวมกันแปลว่า ให้ขึ้นได้)
come across
แปลว่า พบโดยบังเอิญ ( come = มา, across = ข้าม)
ตัวอย่างอื่นๆเช่น
call off           ยุติ, ยกเลิก                        look up         ค้นหา
look after     
ดูแล                                  turn into       กลายเป็น
carry on       
ทำต่อไป                           turn up         ปรากฎตัว
Phrasal verbs แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบ Separable verbs คือ กริยาวลีที่สามารถแยก verb และ preposition ได้ซึ่งมักเป็นกริยาวลีที่ต้องการกรรม เช่น   turn on, turn off, take off, try on, etc. เช่น
  • You must take off your shoes before entering the room.
สามารถเขียนได้ว่า
  • You must take your shoes off before entering the room.
  • Please turn off the light. หรือ Please turn the light off.
  • You can try on the shirt. หรือ You can try the shirt on.
** ในกรณีที่กรรมเป็นคำสรรพนามจะต้องวางไว้หน้าคำบุพบทเสมอ เช่น
  • You can try it on. จะเขียนว่า You can try on it. ไม่ได้
  • Please turn it off จะเขียนว่า Please turn off it ไม่ได้
** ถ้าหากว่า กรรมเป็นกลุ่มคำที่เป็นยาวๆ จะไม่สามารถวางไว้หน้าบุพบทได้ ให้วางไว้หลังกริยาวลีเสมอ เช่น
  • He gave away every book that he possessed. (ถูกต้อง)
  • He gave every book that he possessed away. (ผิด)
2. แบบ inseparatable verbs คือกริยากลุ่มที่ถ้ามีกรรมมารับจะไม่สามารถแยก verb กับ preposition ออกจากกันได้ ต้องวางกรรมไว้หลังสุด เช่น
  • The teachers have to look after students at school.
    ไม่สามารถเขียนว่า The teachers have to look students after at school.
ในบางครั้งกริยาวลีอาจจะเป็นแบบ three-word verb คือมีการใช้คำบุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น
put up with             อดทนกับ                catch up with                    ตามทัน
look down to          
ดูถูก                        run out of                หมด
ตัวอย่างประโยค เช่น
  • We are about to run out of water.
    พวกเรากำลังจะไม่มีน้ำ
  • I can’t put up with that noise any longer.
    ฉันทนเสียงนั่นต่อไปไม่ได้แล้ว
** มีอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ กริยาบางตัวที่ตามด้วยคำบุพบทจะไม่ใช่ กริยาวลี วิธีการแยกแยะระหว่างกริยาวลีและกริยาที่ตามด้วยคำบุพบทคือ กริยาที่ตามด้วยคำบุพบท คือ กริยาที่มีคำบุพบทแต่ไม่เปลี่ยนความหมายของคำกริยานั้น เช่น agree with ก็ยังคงมีความหมายเดิมของ agree และ with คือ เห็นด้วยกับหรือ wait for ก็ยังแปลว่า รอ
แต่กริยาวลี คือ กลุ่มคำที่ประกอบไปด้วย คำกริยา และ บุพบท โดยที่จะให้ความหมายใหม่ขึ้นมา เช่น ask out ไม่ได้มีเค้าความหมายเดิมของ ask และ out แต่จะแปลว่า ชวนออกไปข้างนอกหรือ run into แปลว่า พบ(ใครคนหนึ่ง)โดยบังเอิญ

การเข้าใจความหมายของกริยาวลีจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับหลายๆคนเพราะมันมีความหมายที่ไม่ใช่ความหมายเดิมนั่นเอง วิธีการเดียวก็คือต้องเจอบ่อยๆใช้บ่อยๆจึงจะจำได้เอง ^^

****************************************************************

ตัวอย่าง Phrasal Verb with COME


กริยาวลี ที่มีคำว่า COME


Come across
ความหมายที่ 1 : เจอโดยบังเอิญ
ตัวอย่างประโยค: I CAME ACROSS my old school reports when I was clearing out my desk.( ฉันบังเอิญเจอรายงานเก่า ๆ สมัยเรียน ตอนทำความสะอาดโต๊ะ

ความหมายที่ 2: คนอื่นเห็นคุณเป็นคนอย่างไร
ตัวอย่างประโยค: : He CAME ACROSS as shy because he spoke so quietly.( ดู ๆ แล้วท่าทางเขาคงเป็นคนขี้อายนะ เพราะเขาพูดเสียงเบามาก )

ความหมายที่ 3: ยอมมีเซ็กซ์กับใครบางคน
ตัวอย่างประโยค: I was surprised when she CAME ACROSS on the first night.( ผมค่อนข้างแปลกใจนะเมื่อเธอยอมมีเซ็กซ์ตั้งแต่คืนแรกเลย)

Come Apart
ความหมาย: แตกเป็นเสี่ยง ๆ หรือ แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย
ตัวอย่างประโยค: It CAME APART when I tried to lift it off the floor and I had to glue it back together. ( มันหลุดออกจากกันเลย ตอนฉันพยายามยกมันขึ้นจากพื้นและฉันก็ต้องใช้กาวติดมันเข้าไปอย่างเดิม )

Come back
ความหมาย: : กลับมา -  กลับไป
ตัวอย่างประโยค: I left work and CAME BACK home early.( ฉันออกจากที่ทำงานและกลับบ้านเร็วขึ้น )


Come down
ความหมาย:  ตกลงมา เช่น พูดถึง ฝน (Rain)
ตัวอย่างประโยค: Just look at the rain COMING DOWN! I'm not going out in that.( แค่ดูฝนทำท่าจะตกลงมาแล้ว ฉันไม่ออกไปข้างนอกหรอกนะ )

ความหมาย:  หมายถึงการเดินทาง เช่น “ แวะมาเยี่ยม /  แวะมาหา “
ตัวอย่างประโยค: When you're next in London, COME DOWN and see us. ( ถ้าคุณมาลอนดอนคราวหน้า แวะมาหาเรามั่งสิ )


Come From

ความหมาย: มาจาก  หมายถึง เมืองหรือประเทศ ที่คุณเกิด  (Country or town where you were born )
ตัวอย่างประโยค: She COMES FROM Somalia.หล่อนมาจาก โซมาเลียจ้ะ

Come by
ความหมาย: แวะมา (Visit ) ใช้กับเรื่อง
ตัวอย่างประโยค: I'll COME BY after work and see if you need any help. เดี๋ยวฉันจะแวะมาอีกหลังเลิกงาน เผื่อคุณมีอะไรให้ช่วย

ความหมาย: หามาได้ หรือ ได้มา (Acquire )
ตัวอย่างประโยค: How did you COME BY that Rolex?เฮ้ย คุณได้นาฬิกาโรเล็กซ์นั้นมายังไงอ่ะ

Come on

ความหมาย: เป็นการให้กำลังใจ Encouragement
ตัวอย่างประโยค: COME ON; don't give up now when you're so close to finishing.
เฮ้ย ไม่เอาน่า......คุณจะเลิกล้มไม่ได้ เพราะคุณมาถึงจุดที่ใกล้สำเร็จแล้ว
ความหมาย:เริ่มมีอาการป่วย Start an illness
ตัวอย่างประโยค:I've got a bit of a headache. I hope it doesn't mean I've got flu COMING ON.
ผมรู้สึกปวดหัวนิดหน่อย หวังว่าผมคงไม่ได้เป็นไข้หวัดนะเนี๊ยะ
ความหมาย: เริ่มทำงาน  / เริ่มใช้ได้แล้ว ใช้กับพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ  (machines, etc)

ตัวอย่างประโยค: The central heating COMES ON automatically an hour before I have to get up.เครื่องทำความร้อนส่วนกลาง เริ่มทำงาน  อย่างอัตโนมัติหนึ่ง ชั่วโมงก่อนที่ฉันต้องตื่นนอน

(ยังมีต่อ)

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่าง Should กับ Supposed to


สรุปคือ
✔Should แปลว่า “ควร” ค่ะ ( ไม่ซีเรียสมาก )
✔Supposed to แปลว่า “สมควร” แค่นี้เอง( ค่อนข้างซีเรียส)
แล้วมันต่างกันยังไง?!?
เออ เป็นคำถามที่ดี – should นั้น ส่วนมากใช้ในเชิงว่า suggestion (เสนอแนะ) ว่าควรทำหรือไม่ทำ ซึ่งจะไม่ทำก็ได้ ไม่มีใครตาย แต่ supposed to เนี่ยยย เป็นการบอกว่า เมิงสมควรทำ นะ เพราะมันเป็นหน้าที่หรืออะไรก็ตามที่ผูกมัดเราไว้
ยังงงใช่เปล่าา ลองดูตัวอย่างสำนวน นายทีมนะจ๊ะ
■ You should go to school. (แกควรไปโรงเรียนนะ) – จะไปก็ได้ ไม่ไปก็ได้
□ You’re supposed to go to school. (เมิงสมควรไปโรงเรียนสิ ดีออก) – กุนี่อุตส่าห์เก็บตังส่งเมิง อีลูก ทรพี! คุณแม่โหดด 555+
■ You should go on a diet. (หุ่นอย่างเมิง ควรจะเริ่มไดเอทได้แล้วนะ)
2 ชม ผ่านไป
■ You’re not supposed to be eating a lot, bitch. (อีห่า! เมิงอย่าแดกเยอะได้ป่ะ แค่นี้ก็อ้วนจะตายห่าอยู่แล้ว 55)
My boyfriend just broke up with me!! (แฟนพึ่งบอกเลิกอ่าาา…)
■ What should I do? (ควรทำไงดี) – ร้องไห้สิเมิง เอ้าา ร้อง ร้อง!!
■ What am I supposed to do? (สมควรทำไงดี ฮืออออ) – ไปตายห่าไป ถ้าเรื่องแค่นี้คิดเองไม่ได้ ปญอ 555+
สรุปแล้ว should (ควร) ส่วน supposed to (สมควร) แค่นั้นแหละ

ความแตกต่างระหว่าง Should กับ Supposed to


สรุปคือ
✔Should แปลว่า “ควร” ค่ะ ( ไม่ซีเรียสมาก )
✔Supposed to แปลว่า “สมควร” แค่นี้เอง( ค่อนข้างซีเรียส)
แล้วมันต่างกันยังไง?!?
เออ เป็นคำถามที่ดี – should นั้น ส่วนมากใช้ในเชิงว่า suggestion (เสนอแนะ) ว่าควรทำหรือไม่ทำ ซึ่งจะไม่ทำก็ได้ ไม่มีใครตาย แต่ supposed to เนี่ยยย เป็นการบอกว่า เมิงสมควรทำ นะ เพราะมันเป็นหน้าที่หรืออะไรก็ตามที่ผูกมัดเราไว้
ยังงงใช่เปล่าา ลองดูตัวอย่างสำนวน นายทีมนะจ๊ะ
■ You should go to school. (แกควรไปโรงเรียนนะ) – จะไปก็ได้ ไม่ไปก็ได้
□ You’re supposed to go to school. (เมิงสมควรไปโรงเรียนสิ ดีออก) – กุนี่อุตส่าห์เก็บตังส่งเมิง อีลูก ทรพี! คุณแม่โหดด 555+
■ You should go on a diet. (หุ่นอย่างเมิง ควรจะเริ่มไดเอทได้แล้วนะ)
2 ชม ผ่านไป
■ You’re not supposed to be eating a lot, bitch. (อีห่า! เมิงอย่าแดกเยอะได้ป่ะ แค่นี้ก็อ้วนจะตายห่าอยู่แล้ว 55)
My boyfriend just broke up with me!! (แฟนพึ่งบอกเลิกอ่าาา…)
■ What should I do? (ควรทำไงดี) – ร้องไห้สิเมิง เอ้าา ร้อง ร้อง!!
■ What am I supposed to do? (สมควรทำไงดี ฮืออออ) – ไปตายห่าไป ถ้าเรื่องแค่นี้คิดเองไม่ได้ ปญอ 555+
สรุปแล้ว should (ควร) ส่วน supposed to (สมควร) แค่นั้นแหละ
ใครหลังไมค์มาถามอีก ตบดิ้นน
ที่มา: นายทีม เจ้าเก่า

It means ไม่ใช่ It’s mean.

ไอ้เจ้า Mean นี่ กลายเป็นคำปราบเซียนเด็กไทยไปซะแล้ว พูดผิดกันเหลือเกิน It means, It’s mean ซ้ำร้าย บางคน It’s means. (ใส่ s ทุกที่ กันพลาด 55) ความผิดพลาดเหล่านี้จะหมดไป เพียงท่านตั้งสติซักนิด แล้วตั้งใจอ่านข้างล่างนี้
It means … (มันหมายถึง..)
ถ้าอยากจะอธิบายอะไรซักอย่าง ว่ามันหมายถึงอะไร ให้พูด It means … blah blah blah (มันหมายถึง….)
อย่างเช่น What does your name mean? (ชื่อแกหมายถึงไรงะ) เราก็อาจจะตอบว่า It means beauty. (ชื่อชั้นหมายถึง ความน่ารัก) อะไรเงี๊ย It means (อิท-มีนส์) มี s แค่ตรง mean นะคะ
It’s mean. (มันใจร้าย)
mean ในที่นี้เป็น adj จ้า mean ที่คนไทยรู้จักว่า you’re so mean. (แกนี่มันใจร้ายจัง) เพราะงั้น It’s mean. ก็คือ มันใจร้าย (อาจจะหมายถึงหมา ถึงสัตว์เลี้ยงก็ได้) Stay away from that dog, honey (อยู่ห่าง ๆ ตัวนั้นนะลูก มันดุมันใจร้าย)

I didn’t mean to .. (ไม่ได้ตั้งใจที่จะ)
อันนี้ก็ mean เหมือนกัน ขอแถม to ไปด้วย
mean to นั้น หมายความว่า ไม่ได้ตั้งใจที่จะหรือจะแปลว่า ไม่มีเจตนาแบบนั้นก็ได้

เช่น Sorry, Jack. I didn’t mean to hurt your feelings. (ขอโทษนะ เราไม่ได้ตั้งใจทำร้ายความรู้สึกเธอ)
หรืออย่างเช่น I’m so sorry. "I didn’t mean it that way."  (ขอโทษนะคะ ไม่ได้ตั้งใจจะหมายความอย่างนั้นค่ะ) พูดไม่คิด พูดแล้วตกใจทั้งคนฟัง คนพูด)

ลวงหลอกหรือนอกใจ


บางครั้งการพูดผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้หายนะบังเกิดได้ อย่างไอ้คำว่า “Cheat” เนี่ยคนไทยก็ยังใช้ผิดไม่น้อย จะบอกฝรั่งว่า “อย่าโกงชั้นนะ” แต่ดันไปพูดว่า “อย่านอกใจชั้นนะ” สร้างความร้าวฉานให้ผัวเมียเค้าซะงั้น 55555
แล้วจะรู้ได้ไงอันไหนหลอกอันไหนนอกใจ? – จุดสังเกตง่าย ๆ ดูที่คำว่า “on” นั่นเอง Cheat – โกง, หลอก Cheat on – นอกใจ เอ้า..ดูตัวอย่างกันเลยดีฝ่า
Are you cheating me?
(นี่มึงหลอกกุหรอ, นี่มึงโกงกุหรอ) – มึงซวยแน่
Are you cheating on me?
(นี่มึงนอกใจกุหรอ) – ไอ้แก่ มึงต๊ายยยย
***Cheat อ่านว่า ‘ชีท’ นะไม่ใช่ ‘ชิท’ ไม่งั้นจะกลายเป็น Are you shitting on me? (นี่มึงขี้ใส่กุหรา) กันไปทันที (อยิ๋ววววว)
ขอแถมอีกนิดละกัน “โกงข้อสอบ” เค้าใช้คำว่า “Cheat on the exam” นะจ๊ะ ไม่ใช่ Cheat the exam
สำหรับคืนนี้ขอฝากไว้สั้น ๆ เท่านี้แล้วกันนะครับ บัยย
นายต่ายน้อย

จะรู้ได้ยังไง เมื่อไหร่ตามด้วย V.อิ้ง (ing) หรือ V. ธรรมดา



เอาง่าย ๆ เลย อย่าง…
✔I used to + V
✔I’m used to + Ving
หน้าตาก็คล้ายกัน ทำไมอันนึงตามด้วย V อันนึงตามด้วย Ving ตอบบ!!
เออ น่าคิด ช่างถามดีครับ (แต่อย่าขึ้นเสียงได้มั้ยยย!) ทริคของผมก็คือ ลองแปลเป็นไทยดูครับ
✔I used to แปลว่า “เคย”
✔I’m used to แปลว่า “ชิน”
เคยทำ เคยเล่น เคยเอา – ฟังดูปกติดีใช่ป๊ะ แล้วถ้า..
ชินทำ ชินเล่น ชินเอา – อันนี้คุ้นไหม ..แน่นอนว่าฟังดูทะแม่ง ๆ ไม่คุ้นหู
เห็นมั้ยว่า.. แม้กระทั่งคำว่า “ชิน” ในภาษาไทยก็ไม่ได้ตามด้วยกริยาทันที แต่มักจะมาคู่กับ Ving เหมือนภาษาอังกฤษเด้ะ ๆ เช่น ชั้นชินกับการทำนู่นทำนี่, กุชินกับการไปเล่นกีฬา …ไอ้คำว่า “กับการ” ตัวนี้แหละ ที่ทำให้โครงสร้างภาษา (ทั้งไทยและอังกฤษ) มันต้องเติม ing เพราะ do แปลว่าทำ ส่วน doing ก็คือ การทำ นั่นเอง! เพราะงั้นถ้าไปใส่ประโยค I’m used to doing.. ก็คือ ชั้นชินกับการทำ..(อะไรบางอย่าง) แต่ถ้าเป็น I’m used to do (ชั้นชินทำ) – แค่ฟังดูก็รู้แล้ว ว่าไม่ใช่ มันตลกทั้งไทยและอังกฤษเลย!
สิ่งที่ผมอยากจะสื่อก็คือว่า…ของบางอย่างลองเทียบกับหลักภาษาไทยดูก็ได้ครับ บางอย่างมันก็ make sense ไปในทำนองเดียวกันนะเออ! แต่ไม่รับประกันทุกกฎน้าาาา
#หนังสือ #มีขายแล้ว #เล่มละ160 #ในงานเท่านั้น จะพิมพ์ให้ยากทำไมเนี่ย! (55) เล่มละ 160 ในงานเน้อ จากราคาปกติ 199- เจอพวกเราวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคมนี้จ้า ไปแจกลายเซ็นแน่นอน ที่บูธ H03 Plenary Hall ศูนย์สิริกิติ์จ้า
ปล. งดหื่น 7 วัน ตอนนี้ลูกเพจขวัญกระเจิงหมดแล้ว 555+
นายทีม

เมื่อคำพหูพจน์ในภาษาอังกฤษไม่ง่ายอย่างที่คิด

หลายคนรู้กันดีว่า การทำคำเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ในภาษาอังกฤษนั้น ง่ายๆแค่เติม s หรือ es ไว้ที่ด้านหลังคำเท่านั้นเอง แต่ทราบไหมคะว่า คำบางกลุ่มในภาษาอังกฤษสามารถเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์? คำบางคำจะไม่มีการเติม s/es เลย บางคำนั้นจะเติมก็ได้ ไม่เติมก็ได้ ในขณะที่บางคำก็เปลี่ยนรูปไปเลยก็มี วันนี้เรานำคำศัพท์ที่ไม่สามารถผันตามกฏการเติม s/es ปกติได้ค่ะ

คำนามที่รูปพหูพจน์เปลี่ยนรูปไปเลย

เอกพจน์พหูพจน์
manผู้ชายหนึ่งคนmenผู้ชายหลายคน
womanผู้หญิงหนึ่งคนwomenผู้หญิงหลายคน
childเด็กหนึ่งคนchildrenเด็กหลายคน
toothฟันหนึ่งซี่teethฟันหลายซี่
footเท้าหนึ่งข้างfeetเท้าหลายข้าง
gooseห่านหนึ่งตัวgeeseห่านหลายตัว
mouseหนูหนึ่งตัวmiceหนูหลายตัว
louseเหาหนึ่งตัวliceเหาหลายตัว
ข้อสังเกตุ: จะสังเกตได้ว่า คำนามที่สะกดด้วย o สองตัว เช่น tooth เป็นต้น ตัว o สองตัวตรงกลางจะเปลี่ยนเป็น e สองตัวแทนค่ะ

คำนามที่รูปพหูพจน์ไม่เปลี่ยนรูป

deerกวาง
sheepแกะ
offspringลูก, ทายาท
seriesชุด, ลำดับ
speciesสายพันธุ์
meansวิธี
grapefruitเกรฟฟรุต
aircraftอากาศยาน, เครื่องบิน
barracksค่ายทหาร
gallowsที่แขวนคอนักโทษ
bisonวัวกระทิง
mooseตัวมูซ
swineหมู

คำนามที่รูปพหูพจน์จะเติม s/es หรือไม่เติมก็ได้

เอกพจน์พหูพจน์ความหมาย
antelopeantelope
antelopes
ละมั่ง
codcod
cods
ปลาคอด
elkelk
elks
กวางเอลค์
fishfish
fishes
ปลา
flounderflounder
flounders
ปลาตัวแบน
grousegrouse
grouses
ไก่ป่า
herringherring
herrings
ปลาแฮร์ริ่ง
quailquail
quails
นกคุ่ม
reindeerreindeer
reindeers
กวางเรนเดียร์
salmonsalmon
salmons
ปลาแซลม่อน
shrimpshrimp
shrimps
กุ้ง
trouttrout
trouts
ปลาเทราท์
ข้อสังเกตุ: คำนามที่ไม่เติม s/es หรือเติมก็ได้ ไม่เติมก็ได้ ถ้าสังเกตดูดีๆจะพบว่าคำส่วนใหญ่เหล่านี้จะเป็นชื่อของพวกสัตว์ หรือชื่อเรียกของบางอย่างค่ะ

คำที่นำมาเสนอวันนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหลายๆคำที่ไม่ได้ผันไปตามกฏ และหลายคำบางคนอาจจะรู้ดีอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีหลายคำที่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน การเรียนไวยากรณ์หรือแกรมม่าในภาษาอังกฤษอาจจะฟังดูยาก และไม่ง่ายเท่าการจำแค่คำสั้นๆไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประวันนั้นก็ควรนำไปใช้อย่างถูกต้องด้วย วันนี้อาจจะยังมีใช้ผิดๆถูกๆบ้าง แต่หากเรียนรู้วันละเล็กวันละน้อยทุกวัน เราก็จะสาสมารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกๆวันแน่นอนค่ะ เพราะการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลที่ดีที่สุด อย่างไรซะก็ต้องมีความรู้เรื่องแกรมม่าพื้นฐานบ้าง หากอ่านเองไม่รู้เรื่อง การเรียนกับครูสอนพิเศษหรือติวเตอร์ก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกันค่ะ
cr: bestkru