วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

10 ไอเดียสร้างเป้าหมายในปี 2020 ให้ทุกคนได้นำไปลองปรับใช้ดู

1/1/2020




1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

     บ่อยครั้งที่เราไปไม่ถึงเป้าหมายได้นั้น แม้ต่อให้มีเวลาลงมือทำ และตั้งใจมากก็ตาม หนึ่งในสาเหตุใหญ่นั้นก็คือ แต่เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ชัดเจน และไม่มีการวางแผนอย่างรอบคอบ

     จากการวิจัยเผยว่า หลังปีใหม่แค่ 6 สัปดาห์เท่านั้น คนกว่า 80 % ล้มเลิกหรือไม่ก็ลืมเป้าหมายไปเลย Marti Hope Gonzales รศ.ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมินนิโซตา ยังเสริมว่า การหาสมุดสักเล่มมาบันทึกเพื่อวางแผนว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ เป็นส่วนช่วยให้เป้าหมายนั้นสำเร็จได้


2.   สร้าง Connection ใหม่ 

     “บางครั้ง การพูดคุยกับคนแปลกหน้าทำให้ฉันรู้สึกสบายใจกว่าคู่ชีวิตซะอีก” ครั้งหนึ่ง Kio Stark นักเขียนสาวเคยเล่าเรื่องราวใน TED Talk ที่ชื่อว่า "Why you should talk to strangersว่าทำไมทุกคนควรรู้จักคนแปลกหน้าให้มากขึ้น เพราะการสร้างมนุษยสัมพันธ์คือส่วนหนึ่งที่ช่วยให้มี “ความกล้า” ที่จะลองออกไปพบผู้อื่นเพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย

     มากไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ Aspen Ideas Festival ยังบอกอีกว่า ปัจจุบันมีคนเหงาเยอะขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและร่างกาย แม้จะมีเพื่อนมากมายก็ตาม เพราะในบางครั้งการมีเรื่องทุกข์ใจแต่กลับไม่สามารถเล่าให้คนสนิทฟังได้ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมทุกคนควรสร้าง Connection ใหม่ ๆ เพราะในบางครั้งคนแปลกหน้าที่เราไม่สนิทก็เปิดรับฟังเรื่องราวของเรามากกว่าคนที่สนิท นอกจากนี้เรายังจะได้เรียนรู้มุมมอง และประสบการณ์จากคนในสังคมที่ต่างออกไปอีกด้วย

หรือรับชมได้ที่: https://goo.gl/QEiuVu


3. พัฒนาภาษาที่ 2 

     ในยุคนี้การพูดได้ 2 ภาษาถือว่าน้อยไปซะแล้ว โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่เรียนถึง 3 ภาษาที่โรงเรียน และการเข้ามาของอาเซียนที่มากขึ้น ยิ่งทำให้ต้องพัฒนาภาษาของตัวเองให้ดีขึ้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่ใครก็ต่างบอกว่ายาก ไม่มีเวลาฝึกฝน ไม่มีเวลาเรียน แต่รู้ไหมว่ายุคนี้เราสามารถฝึกภาษาอังกฤษออนไลน์ที่มีให้เลือกเยอะมาก จนอาจจะเลือกไม่ถูก แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มยังไง เรายินดีให้คำปรึกษา ซึ่งวิธีฝึกที่แนะนำคืออย่างน้อย 20 - 40 นาทีต่อวัน และ 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด
เริ่มโดยการฝึก อ่านและฟังไปด้วยในเวลาเดียวกัน สนุก ๆ นะคะ คลิกดูเลย

 White Death  ( มีเนื้อหารวมเป็นเล่ม มี สามเรื่อง สนใจ ติดต่อมาที่Facebook นะคะ


4. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์

     นอกจากจะทานอาหาร ให้อิ่มท้อง หรือเพื่อความอร่อยแล้ว เรื่องของคุณประโยชน์ก็สำคัญเช่นกัน

     บทความจากนิตยสาร Newsweek ได้เปิดเผยว่า การทานสลัดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งสามารถทำให้สมองของมนุษย์อ่อนเยาว์ลงถึง 11 ปี นอกจากสลัดแล้วเราควรทานปลาให้มากขึ้นเช่นกัน เพราะในปลามีโอเมก้า 3 ที่ช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ ถ้าทานทุกสัปดาห์ ไอคิวจะสูงขึ้นถึงสี่จุด และลดอัตราการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย โดยปลาที่แนะนำให้ทานคือ ปลาทู

5. หยุดทานหลัง 3 ทุ่มสักที

     หลายคนเห็นหัวข้อแล้วต้องเศร้าแน่นอน เพราะฉันนี่แหละชอบกินบุปเฟต์เหลือเกินในยามค่ำคืน แต่รู้หรือไม่ว่า การทานอาหารให้ถูกเวลาก็สำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาหลัง 3 ทุ่ม เป็นเวลาที่เราควรหยุดทาน เพราะการทานอาหารช่วงดึก ๆ คือสาเหตุของการตามมาของหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน กดไหลย้อน เป็นต้น แต่หากใครหิวจนทนไม่ไหวจริง แนะนำให้ดื่มนมอุ่นใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา เพราะในน้ำผึ้งช่วยให้นอนหลับดีขึ้น


6. เข้านอนให้ไวขึ้น

     ใครอยากสุขภาพดี และอยากลดน้ำหนักง่าย ๆ โดยไม่ต้องทำอะไรมากเลย แค่ “นอนให้ถูกเวลาเท่านั้น” ทุกคนคงได้ยินมาบ่อย ๆ ว่าควรนอน 6 - 8 ชม. แต่จริง ๆ แล้วช่วงอายุ 18 - 64 ปีนั้นควรนอน 7 - 9 ชม.ต่อวัน และเวลาที่ควรเข้านอนในช่วง 21.00 น. - 05.00 น. เพราะในขณะที่นอนหลับไปแล้วนั้นร่างกายจะทำงานได้อย่างเต็มที่ เช่น การฆ่าเชื้อโรค ขจัดสารพิษ ขับถ่ายดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าใครอยากผิวสวยหน้าใส ให้ตื่นตี 5 มารับอากาศยามเช้าให้เต็มปอดดูซิคะ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ปอดทำงานได้อย่างเต็มที่



7. ออกกำลังกายซะบ้าง

     เชื่อว่านี่เป็นเป้าหมายของใครหลายคน และทำได้ยาก ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าการออกกำลังกายนั้นมีความสำคัญมากกว่าแค่สุขภาพดีอีกนะ เพราะสำหรับใครที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะมีสมองที่ดี คิดงานได้คล่อง มีความคิดสร้างสรรค์ และยิ่งไปกว่านั้นคือ ช่วยให้ชะลอความแก่ แถมยังความจำดีขึ้นอีกด้วย โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 20 - 45 นาทีต่อวัน และ 3 - 5 วันต่อสัปดาห์


8. อ่านให้มากขึ้น

     “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” ประโยคที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ยังคงได้ยินอยู่เสมอ ลองใช้เวลาสักนิดต่อวันเพียง 10 - 30 นาทีต่อวัน หันมาอ่านหนังสือให้มากขึ้นกันดีกว่า เพราะการอ่านเป็นสิ่งที่ดีต่อสมอง ช่วยให้มีสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นในการทำงาน โดยการอ่านหนังสือนั้นจะเป็นหนังสืออะไรก็ได้ เช่น หนังสือเรื่องสั้น หนังสือพิมพ์ หรือ หนังสือนวนิยาย เป็นต้น


     นักจิตวิทยาองค์ความรู้ Keith Oatley บอกว่า การอ่านนวนิยายนั้นยังช่วยสร้างทักษะการเข้าสังคมอีกด้วย หรือจะลองฝึกอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเพิ่มทักษะการอ่านให้ดีขึ้น ซึ่งหนังสือที่แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น คือ Wonder by R.J. Palacio ที่เคยถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์ ด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ และคำศัพท์ไม่ยากจนเกินไป

 9. ออกไปข้างนอกให้เยอะขึ้น

     การออกไปข้างนอกสูดอากาศที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติ ในสวนสาธารณะช่วยทำให้ร่างกายและสมองผ่อนคลาย รวมไปถึงการลดอาการซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะหากใครที่ต้องใช้ความคิดในการทำงานมาก ควรพักจากหน้าจอ และหันหน้าเข้าพื้นที่สีเขียวดูบ้าง แต่ถ้าหากได้มีโอกาสไปท่องเที่ยว จะยิ่งช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการเดินทางไปที่ต่าง ๆ 

     แต่ถ้าสำหรับใครที่ไม่ชอบไปไหนจริง ๆ ขอแนะนำให้ลองใช้เวลากับศิลปะมากขึ้น เช่นการเล่นดนตรี ดูหนัง หรือหัดเขียนบล็อกเก็บบทความหรือเรื่องราวที่ตนเองมีความรู้และทักษะอยากเล่า เหมือนบล็อกนี้ก็ดีนะคะ เพราะการใช้เวลากับศิลปะและการเขียน ก็ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และยังช่วยลดความตึงเครียดจากเรื่องต่าง ๆ ได้เช่นกันค่ะ


10. เล่น Social Network ให้น้อยลง

     สังคมออนไลน์ ที่ปัจจุบันเปรียบเป็นเหมือนหนึ่งในปัจจัยการดำเนินชีวิตไปแล้วก็ว่าได้ โดยเฉพาะธุรกิจทั้งเก่าทั้งใหม่ต่างก็ต้องปรับตัวกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับผู้ใช้ทุกคนที่ควรใช้แต่พอควร ลดลงบ้าง เพราะการเล่น Social Network มาก ๆ นั้นทำให้เสียเวลาในการใช้ชีวิตไปมาก และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น การถูก Cyber Bully ที่มีผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และสำหรับใครที่นอนไม่ค่อยหลับ นอนดึกดื่น ยิ่งต้องลดการเล่นโซเชียลให้น้อยลง ออกจากโลกออนไลน์ และกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงให้มากขึ้น

     เริ่มคิดออกแล้วใช่ไหมคะว่าปีนี้จะทำอะไรดี!? เพราะทุกคนคงได้ไอเดียในการไปปรับใช้กับเป้าหมายของตัวเองในปีนี้กันแล้ว แต่ทำไมนะทุกปีเลยที่ตั้งใจจะทำอะไรแล้วมันไม่เคยสำเร็จเลย ทุกอย่างล้วนมีสาเหตุที่มาที่ไปกันทั้งนั้น


เรามาดูกันดีกว่าว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นเป้าหมายของเรากันนะ


เป้าหมายที่ไม่ชัดเจน - หากอยากไปให้ถึงเป้าหมาย ควรทำให้เป้าหมาย “ชัดเจนและจับต้อง” ได้ก่อนลงมือทำ เช่น แทนที่จะเขียนว่า "ต้องลดพุงให้ได้ในปีนี้" น่าจะเขียนว่า "จะไม่ใส่กางเกง เอวเกิน 34 นิ้ว"
ไม่เขียนเป้าหมาย - ลองหาสมุดสักเล่ม หรือพิมพ์ไว้ในNote ของมือถือก็น่าจะดีกว่าเพื่อช่วย “เตือน” ป้องกันการหลงลืมเป้าหมาย
เป้าหมายเยอะเกิน - เป้าหมายมีหลายข้อได้ แต่ควรลงมือทำทีละข้อ หากสำเร็จแล้วจึงค่อยเริ่มต้นทำข้อถัดไป
เป้าหมายใหญ่เกินไป - ลองปรับซอยเป้าหมายของคุณให้เล็กลงดูไหม แล้วค่อย ๆ เคลียร์ไปทีละนิด
เช่นแทนที่จะเขียนว่าลดนน.ให้ได้ 10 กก.(ทั้งปี) ก็ซอยออกมาต่อเดือน ก็มีทางเป็นไปได้มากกว่า
ไม่กำหนดเวลา - การจัดสรรเวลาให้กับเป้าหมายช่วยเพิ่มความตั้งใจที่จะลงมือทำได้มากขึ้น
ขาดการวางแผน - ลองเขียนเป็นหัวข้อ ๆ ให้กับเป้าหมายดู วางแผนให้เป็นระเบียบมากขึ้น
ขาดแรงจูงใจ - หาหรือลองสร้างกำลังใจและแรงจูงใจคือสิ่งสำคัญ ที่จะเพิ่มความพยายามมากขึ้นได้
ขาดผู้สนับสนุน - ชวนเพื่อน หรือใครสักคนมาร่วมอุดมการณ์ในการคว้าเป้าหมายไปพร้อม ๆ กันดูนะคะ
แนะนำให้ตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อนที่มี ปณิธาน เหมือนกัน ก็น่าจะทันยุคมากกว่า ถูกเพื่อน แดกดันมั่งก็ไม่เป็นไร เพื่อนที่ดี ย่อมให้กำลังใจเรานะคะ

     ถึงตรงนี้เราหวังว่าทุกคนจะได้ทบทวนตัวเอง ถึงเรื่องเป้าหมายที่ตั้งใจจะทำในปี 2020นี้ และตั้งใจจะมาช่วย “เตือน” ว่าอย่าหลงลืมความตั้งใจที่จะทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จ ในแบบของตัวเอง ขอเป็นกำลังใจให้ปีนี้ ประสบความสำเร็จได้อย่างใจหวังนะคะ

     ก่อนจะจากกันไปในวันนี้  อยากให้ทุกคนลองมาแชร์ New Year’s Resolution ของตัวเองที่คอมเมนต์ของโพสต์นี้ที่ Facebook กันหน่อยนะคะ เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวดี ๆ แบบนี้กับเพื่อน ๆ ท่านอื่น ๆ กันนะคะ