ผู้เขียนคิดว่าทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสำคัญ
แต่นักภาษาศาสตร์ร่วมสมัยส่วนใหญ่มักจะทำวิจัยภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาษาพูด นั้นเป็นหลักพื้นฐาน
และมีความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าภาษาเขียน เขาใช้เหตุผลว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้การพูดและการประมวลผลภาษาพูดได้ง่ายกว่า
และง่ายกว่าการเขียนมากๆ
คนไทยหลายคนมัวแต่เรียน
prescriptive grammar อย่างเดียวเพราะเขาเรียนเพื่อจะสอบซึ่งอาจจะทำให้บางคนเครียดเรื่องผิดหรือถูกมากไปหน่อยนะคะ
ในทางกลับกันถ้าเป้าหมายของคุณคือที่จะพูดและฟังได้ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะลึกในเรื่อง
prescriptive grammar ก็ได้ค่ะ คือสามารถเรียนจากการดูหนัง การดูซีรี่ย์
การฟังเพลง และการรับสื่อภาษาอังกฤษอื่นๆได้ เพราะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันไม่ใช่ข้อสอบที่มีคำตอบที่ผิด
มันมีแค่สื่อสารรู้เรื่องกับสื่อสารไม่รู้เรื่องนะคะ
แล้วถ้าใช้ภาษาพูดที่อาจจะแหกกฎ prescriptive grammar บ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ตราบใดที่ผู้ฟังเข้าใจนะคะ ยิ่งกว่านั้นอาจจะลองใช้ descriptive grammar เช่นคำสแลงดูบ้างนะคะ มันทำให้ฟังดูเป็นกันเอง บางทีถ้าใช้ prescriptive grammar ในภาษาพูดตลอดเวลาก็อาจจะฟังดูเป็นหุ่นยนต์ได้ค่ะ การพูดภาษาอังกฤษควรจะเป็นเรื่องสนุกไม่ใช่เรื่องเครียดนะคะ
แล้วถ้าใช้ภาษาพูดที่อาจจะแหกกฎ prescriptive grammar บ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ตราบใดที่ผู้ฟังเข้าใจนะคะ ยิ่งกว่านั้นอาจจะลองใช้ descriptive grammar เช่นคำสแลงดูบ้างนะคะ มันทำให้ฟังดูเป็นกันเอง บางทีถ้าใช้ prescriptive grammar ในภาษาพูดตลอดเวลาก็อาจจะฟังดูเป็นหุ่นยนต์ได้ค่ะ การพูดภาษาอังกฤษควรจะเป็นเรื่องสนุกไม่ใช่เรื่องเครียดนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น