วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กฏการเติม ed ที่คำกริยา Regular Verbs

กฏการเติม ed ที่คำกริยา   Regular Verbs

       กริยาส่วนใหญ่มีรูป Simple Past Tense ด้วยการเติม ed มีกริยาบางคำเวลาเติม ed ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีข้อสังเกตดังนี้

   1. กริยาซึ่งลงท้ายด้วย e อยู่เเล้ว คงเติมเฉพาะ d  เช่น
hope
-
hoped
หวัง
move
-
moved
เคลื่อนไหว
free
-
freed
อิสระ
agree
-
agreed
เห็นด้วย
raise
-
raised
ยกขึ้น




   2. กริยาซึ่งลงท้ายด้วย y   ให้เปลี่ยน y เป็น i เเล้วเติม ed  เช่น
cry
-
cried
ร้อง
reply
-
replied
เชื่อถือ
carry
-
carried
เเบก, ถือ
try
-
tried
พยายาม




       แต่ถ้าหน้า y  มีสระ (vowel) คือ a, e, i, o, u  คงเติม ed ได้ทันที  ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i   เช่น
play
-
played
เล่น
obey
-
obeyed
เชื่อฟัง
delay
-
delayed
ชักช้า
enjoy
-
enjoyed
เพลิดเพลิน
stay
-
stayed
พักอาศัย




   3. กริยาพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ed   เช่น
hop
-
hopped
กระโดด
beg
-
begged
ขอร้อง
plan
-
planned
วางแผนการ
nod
-
nodded
พยักหน้า
rub
-
rubbed
ถู, ลบ
stir

stirred
คน,ทำให้ทั่ว
stop

stopped
หยุด
       ยกเว้น ถ้าลงท้ายด้วย h, w, x, y ไม่ต้องเติมพยัญชนะท้าย  เช่น
tax
-
taxed
เก็บภาษี
tow
-
towed
ลากด้วยเชือก




   4. กริยามี 2 พยางค์ เเต่ลงเสียงหนักพยางค์ท้าย เเละพยางค์ท้ายมีสระตัวเดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก ตัว เเล้วจึงเติม ed   เช่น

concur
-
concurred
ตกลง, เห็นด้วย
occur
-
occurred
เกิดขึ้น
refer
-
referred
อ้างถึง
permit
-
permitted
อนุญาต




       - ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์เเรก ไม่เดินตามกฏข้างบนนี้ (ไม่ต้องเพิ่มพยัญชนะท้ายอีกตัวหนึ่ง)  เช่น
cover
-
covered
เก็บภาษี
open
-
opened
ลากด้วยเชือก
gather

gathered
รวม, จับกลุ่ม
       - ถ้าลงท้าย h, w, x, y  ไม่ต้องเพิ่ิมพยัญชนะท้าย   เช่น  allow  -  allowed   อนุญาต, ยอมให้

   5. กริยามี 2 พยางค์ ลงท้ายด้วย l ตัวเดียว เเละมีสระพยางค์ท้ายตัวเดียว ต้องเพิ่ม l ก่อนเติม ed
travel
-
travelled
เดินทาง
fulfil
-
fulfilled
ทำให้สำเร็จ
control

controlled
ควบคุม
         ถ้าเป็นภาษา English American ไม่ต้องเพิ่ม l   เช่น   traveled

เชื่อว่าคนที่เรียนภาษาอังกฤษหลายๆคนคงอาจจะเคยเรียนมาแต่จำไม่ได้ว่าคำกริยาที่อยู่ในรูปอดีต หรือ Past-tense ที่ต่อท้ายคำด้วย "ed" นั้น มีหลักการออกเสียงค่อนข้างหลากหลาย และหลายคนอาจจะกำลังออกเสียง
stop (แปลว่าหยุด) ช่อง 2 หรือช่องอดีต คือ stopped บางคนออกเสียงว่า "สทอพพิด" หรือ "สต็อปเป็ด" ซึ่งเป็นการออกเสียงที่ผิด โดยที่ถูกต้องต้องออกเสียงว่า "สต็อปทึ" เปลี่ยน ed ให้เป็นเสียง /t/ คะ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนต้องเปลี่ยนเสียงเป็นอะไร

มีหลักการจำอยู่ 3 ข้อหลักๆ โดย 3 วิธีการออกเสียงนี้จะแบ่งออกตามพยัญชนะตัวสุดท้ายก่อนที่จะเติม "ed"

1. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย p, f, gh, s, ce, k, ch, sh, sk และ sp ก่อนเติม ed เวลาออกเสียงให้เปลี่ยน ed เป็น t คะ ซึ่งจะได้เสียงเป็น
...ped                = /pt/     เช่น   raped,   stopped,   ripped,   sipped
...fed, ...ghed     = /ft/     เช่น   laughed,   stuffed,   beefed,   puffed
...sed, ...ced       = /st/     เช่น   faced,   kissed,   hissed,   passed
...ked                 = /kt/    เช่น   faked,   knocked,   kicked,   raked
...tched, ..ched   = /cht/   เช่น   matched,   watched,   hitched,   coached
...shed               = /sht/   เช่น   mashed,   cashed,   wished,   washed
...sked               = /skt/   เช่น   asked,   masked,   tasked
...sped               = /spt/   เช่น   grasped 


2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย t และ d ก่อนเติม ed เวลาออกเสียงไม่ต้องผันเป็นเสียงอื่นแต่ให้เปรียบ ed เสมือนเป็นสระและตัวสะกดต่อท้าย
..ted   = /tid/  ออกเสียงเป็น ทิด หรือ เท็ด เช่น wanted = ว้อนเท็ด ตัวอย่างอื่น hated, presented, departed
..ded  = /did/ ออกเสียงเป็น ดิด หรือ เด็ด เช่น needed = นีดเด็ด ตัวอย่างอื่น ended, rounded,


3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะหรือเสียงอื่นๆ เช่น b, g, l, m, n, r, w, y, z ก่อนเติม ed โดยคำพวกนี้จะออกเสียง ด หรือ ดึ แบบเสียงก้อง หรือ voiced sounds (คือเสียงที่เวลาออกแล้วเส้นเสียงในลำคอจะบีบแคบลงและสั่น) เช่น

described ดิสไครบ์ดึ (อย่าลืมทำเสียงก้องตอนท้ายตรง บ์ดึ)
ตัวอย่าคำอื่นเช่น  loved, played, called, cleared, followed, enjoyed, amazed, used, damaged, cleaned


การฝึกอ่านภาษาอังกฤษเป็นประจำจะทำให้เราจำการออกเสียงได้โดยอัตโนมัติค่ะ อย่าลืมฝึกอ่านออกเสียงกันบ่อยๆนะคะ เวลาเราสนทนาเป็นภาษาอังกฤษเราจะได้ออกเสียงคำนั้นๆได้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษจะต่างจากภาษาไทยตรงที่เขาจะมีกาลเวลา หรือ tense เวลาพูด หากเราออกเสียงผิด ไม่ใช่แค่ความหมายผิด เพราะกาลหรือช่วงเวลาในประโยคนั้นๆก็จะผิดตามไปด้วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น