ประธาน กริยา กรรม คือ อะไร ในภาษาอังกฤษ และตัวไหนคือประธานกันแน่ ดูตรงไหน
ประธาน คือ ผู้กระทำ
กริยา คือ การกระทำ
กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ
A monkey eats a banana.
ลิง กิน กล้วย
ลิง เป็น ประธาน เพราะเป็นผู้กระทำ
กิน เป็น กริยา เพราะ เป็นการกระทำ
กล้วย เป็นกรรมเพราะเป็นผู้ถูกกระทำ (ถูกกิน)
----------------
The man from Thailand is very tall.
ผู้ชาย ที่มาจาก ประเทศไทย ตัวสูง มาก
จากตัวอย่าง ผู้ชายเป็นประธาน ไม่ใช่ประเทศไทย
Two boys from China are very smart.
เด็กชายสองคน ที่มาจากจีน หล่อมาก
จากตัวอย่าง เด็กผู้ชาย คือประธานของประโยค ไม่ใช่ China
และสังเกตให้ดีว่า สองประโยคด้านบนมีอะไรที่ต่างกัน ถูกต้องครับ กริยา is กับ are ไง ประธานหนึ่งคนกริยามักลงท้ายด้วย s
The girl in this room drinks coffee everyday.
เด็กหญิง ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
The girls in this room drink coffee everyday.
เด็กหญิงทั้งหลาย ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
ตัวอย่างด้านบนนี้ ประธานคือ เด็กหญิง ไม่ใช่ ห้อง สังเกตว่าประธานคนเดียวกริยาเติม s หลายคนไม่ต้องนะครับ
นี่คือความสำคัญที่จะต้องแยกแยะให้ออกว่าอันไหนคือประธานของประโยค และประธานดังกล่าวเป็น เอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่
เพราะในหลักภาษาอังกฤษนั้น ประธานที่เป็นเอกพจน์กับพหูพจน์จะใช้กริยาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องเอกพจน์พหูพจน์ ในบทต่อไป
**************************
Grammar: 5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ (English basic sentence structures)
โครงสร้างของประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ภาคประธาน (Subject) ที่เป็นคำนาม สรรพนาม หรือกลุ่มคำนาม และ ภาคแสดง (Predicate) ประกอบด้วยกริยา กรรม หรือส่วนขยาย โดยโครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษมี 5 โครงสร้างด้วยกัน ดังนี้
5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ
โครงสร้างที่ 1 : Subject + Verb (ประธาน + กริยา)
คำกริยาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) มารองรับ
2. สกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ
ในโครงสร้างที่ 1 มีเพียงประธานกับอกรรมกริยา (Intransitive verb) หรือกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (Object) ก็เป็นประโยคที่สมบูรณ์เข้าใจได้ เช่น
She works . (เธอทำงาน)
He gets up.(เขาตื่นนอน)
นอกจากนี้เราสามารถขยายความประโยคได้โดยเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น
She works hard.(เธอทำงานหนัก)
hard = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย works
He gets up early.(เขาตื่นแต่เช้า)
early = กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มาขยาย gets up
-------------------------------------------
โครงสร้างที่ 2 : Subject + Verb + Object (ประธาน + กริยา + กรรม)
ในโครงสร้างที่ 2 จะใช้สกรรมกริยา (Transitive Verb) หรือกริยาที่ต้องการกรรม (Object) เช่น
I read a book.(ฉันอ่านหนังสือ)
Mark kicks the ball.(มาร์กเตะลูกบอล)
เราสามารถขยายความประโยคได้ด้วยการเติมคำคุณศัพท์ (Adjectives) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เข้าไปในประโยค เช่น
Mark kicks the yellow ball.(มาร์กเตะลูกบอลสีเหลือง)
yellow = คำคุณศัพท์ (Adjective) มาขยาย ball
I read a book every day.(ฉันอ่านหนังสือทุกวัน)
every day = คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) ขยาย read เพื่อบอกความถี่ในการอ่าน
ถือว่า โครงสร้างนี้ เป็น Direct Object (กรรมตรง) คือ กรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง
-------------------------------------------
โครงสร้างที่ 3 : Subject + Verb + Indirect Object + Direct Object (ประธาน + กริยา + กรรมรอง + กรรมตรง)
กรรม (Object) หลัก ๆ ในภาษาอังกฤษมี 3 ชนิด คือ
1. Direct Object (กรรมตรง) คือ กรรมที่รับการกระทำจากกริยาโดยตรง เช่น ในโครงสร้างที่ 2 จะเป็นกรรมตรง
2. Indirect Object (กรรมรอง) คือ กรรมที่ได้ผลประโยชน์จากการกระทำ
3. Prepositional object (กรรมของบุพบท) คือ กรรมที่ต่อท้ายบุพบท
-------------------------------------------
Indirect Object (กรรมรอง) คือ กรรมที่ได้ผลประโยชน์จากการกระทำ
My mother bought me a new toy.
(แม่ของฉันซื้อของเล่นใหม่ให้ฉัน)
new toy เป็นกรรมตรง เพราะถูกซื้อโดยตรง และ me เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการซื้อ
Jack teaches us English.
(แจ็คสอนภาษาอังกฤษพวกเรา)
English เป็นกรรมตรงที่ถูกสอน และ us เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการสอน
He gave his girlfriend flowers.
(เขาให้ดอกไม้แก่แฟนของเขา)
flowers เป็นกรรมตรงที่ถูกให้ และ his girlfriend เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการให้
---------------------------------------------------------
และในโครงสร้างที่ 3 นี้สามารถเขียนได้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมรองจะเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นกรรมของบุพบท (Prepositional object )โดยมักจะเป็น to หรือ for เช่น
My mother bought a new toy for me.
Jack teaches English to us
He gave flowers to his girlfriend.
ซึ่งโครงสร้างนี้ ถือว่าเป็น Prepositional object (กรรมของบุพบท) คือ กรรมที่ต่อท้ายบุพบท
---------------------------------------------------------------
โครงสร้างที่ 4 : Subject + Verb + Subjective Complement (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายประธาน)
Subjective Complement หรือ ส่วนขยายประธาน คือ กลุ่มคำที่ตามหลัง Verb to be หรือ Linking Verb โดยส่วนขยายประธานเป็นได้ทั้งคำนาม (Noun) และคำคุณศัพท์ (Adjective)
My brother is a doctor.
(พี่ชายของฉันเป็นหมอ)
There is a pen.
(มีปากกาหนึ่งด้าม)
James became an engineer.
(เจมส์กลายเป็นวิศวกร)
She looks exhausted after studying all night.
(เธอดูเหน็ดเหนื่อยหลังจากอ่านหนังสือทั้งคืน)
This price sounds reasonable.
(ราคานี้ฟังดูสมเหตุสมผล)
The coffee smells bitter in the coffee shop.
(กาแฟส่งกลิ่น ขม อบอวลในร้านกาแฟ)
------------------------------------------------------------
โครงสร้างที่ 5 : Subject + verb + Object + Objective Complement
Objective Complement หรือส่วนขยายกรรม เป็นได้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์
She named the dog Ken.
(เธอตั้งชื่อหมาว่าเคน)
Ken เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย dog ที่ถูกตั้งชื่อ
They made me the president.
(พวกเขาแต่งตั้งฉันเป็นประธานบริษัท)
the president เป็นส่วนขยายกรรมมาขยาย me ที่ถูกแต่งตั้ง
=====================================
Direct object กรรมตรง Indirect object กรรมรอง คืออะไร
สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม ในส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) ซึ่งแบ่งออกเป็น Direct object (กรรมตรง) และ Indirect object (กรรมรอง) นั้น ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง..?
วันนี้.. เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Direct object กรรมตรง และ Indirect object กรรมรอง นั้น คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร..?
Direct object กรรมตรง หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของที่ถูกกระทำโดยตรง เป็นผู้รับการกระทำโดยตรงจากกริยา เช่น
Jim repaired his car. (his car คือกรรมตรงของกริยา repaired)
Mother punished her son. (her son คือกรรมตรงของกริยา punished)
Paul built a sandcastle on the beach. (sandcastle คือกรรมตรงของกริยา built)
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง Direct object จะวางอยู่หลังกริยาเสมอ และรับการกระทำโดยตรงจากกริยา และที่สำคัญ เราจะต้องรู้ว่า ใครหรือสิ่งใด ถูกทำอะไร..?
Indirect object กรรมรอง เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม และมักจะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากประธาน เช่น
John bought his mother a new car. (a new car คือกรรมตรงของกริยา bought ส่วน his mother เป็นกรรมรอง ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากกริยา bought ของประธาน John)
Jim gave Jane his laptop. (his laptop คือกรรมตรงของกริยา gave ส่วน Jane เป็นกรรมรอง)
Ben told Jack the truth. (the truth คือกรรมตรงของกริยา told ส่วน Jack เป็นกรรมรอง)
คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง Indirect object จะวางอยู่ระหว่างคำกริยากับกรรมตรง Direct object นั่นก็คือ อยู่หลังคำกริยาอยู่หน้ากรรมตรง นั่นเอง
ข้อสังเกต ในประโยคที่มีกรรมรอง Indirect object จะต้องมีกรรมตรง Direct object เสมอ จะมีแต่กรรมรองอย่างเดียวไม่ได้ และส่วนมากกรรมรอง Indirect object จะเป็นคน กรรมตรง Direct object จะเป็นสิ่งของเสมอ
รูปประโยคอีกแบบของ Indirect object กรรมรอง ซึ่งสามารถตามหลังคำบุพบท Preposition ได้ เช่น
John bought a new car for his mother. (his mother เป็นกรรมรอง Indirect object และกรรมของบุพบท for ส่วน a new car เป็นกรรมตรง Direct object)
Jim gave his laptop to Jane.
Ben told the truth to Jack.
จะเห็นได้ว่า คำนามที่ตามหลัง Preposition คำบุพบท for, to นั้น เป็นทั้งกรรมรอง Indirect object และกรรมของคำบุพบท Object of preposition ในขณะเดียวกัน
ข้อสังเกต ถ้ากรรมตรง Direct object อยู่หลังคำกริยา จะต้องมีคำบุพบท for, to อยู่หน้ากรรมรอง Indirect object (หรือกรรมของบุพบท Object of preposition)
Nouns คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate เป็นต้น
ทีนี้.. เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ใช้ทำหน้าที่อะไร..?
Forms of Nouns รูปของคำนาม
1. Nouns คำนาม ที่เป็นคำเดียวโดดๆ เช่น dog, table, hat, cup, man, girl, book เป็นต้น
2. Nouns คำนาม ที่เป็นคำประสม (compound noun) เป็นคำนามที่เกิดจากคำนามหลายๆคำมารวมกัน กลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ เช่น
bedroom (ห้องนอน) มาจาก bed(เตียงนอน)+room(ห้อง)
toothbrush (แปรงสีฟัน) มาจาก tooth(ฟัน)+brush(แปรง)
teaspoon (ช้อนชา) มาจาก tea (ชา) + spoon (ช้อน)
classroom (ห้องเรียน) มาจาก class (ชั้นเรียน) + room (ห้อง)
Formation of Nouns การสร้างคำนาม ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเติม er, or, ion, tion, ment, ness และ ing เช่น
dance เป็น dancer
act “ actor
direct “ direction
Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม
1. Subject ประธาน ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ซึ่งจะเป็นผู้แสดงกริยาอาการในประโยคนั้น ๆ
2. Object กรรม ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำจากประธาน
3. Complement ส่วนเติมเต็ม เป็นคำที่ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Types of Nouns ประเภทของคำนาม แบ่งแยกย่อยออกเป็น ดังนี้
1. Proper nouns และ Common nouns
Proper nouns คำนามเฉพาะ คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคนหนึ่งคนใด สิ่งของหนึ่งสิ่งของใด สถานที่หนึ่งสถานที่ใด โดยเฉพาะเจาะจง คำนามชนิดนี้ จะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ
Common nouns คำนามทั่วไป คือ คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่โดยทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น
man นามทั่วไป Paul นามเฉพาะ (ชื่อผู้ชาย)
dog " Jimmy " (ชื่อสุนัข)
country " Thailand " (ชื่อประเทศ)
day " Friday " (ชื่อวัน)
month " March " (ชื่อเดือน)
2. Countable Nouns และ Uncountable nouns
Countable nouns คำนามนับได้ เป็นคำนามที่มีจำนวน สามารถนับจำนวนได้เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นสิ่ง เป็นคน และนอกจากนี้ ยังแบ่งออกเป็น
o Concrete noun (รูปธรรม)
§ คำนามเอกพจน์ (Singular form)
§ คำนามพหูพจน์ (Plural form)
o Collective noun (สมุหนาม)
Uncountable nouns คำนามนับไม่ได้ เป็นคำนามที่ไม่สามารถนับจำนวนได้ จะปรากฏในรูปของ singular form (รูปเอกพจน์) เสมอ และยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น
o Concrete noun (รูปธรรม)
o Mass noun (นามมวลสาร)
o Material noun (วัตถุนาม)
o Abstract noun (นามธรรม)
หมายเหตุ Nouns คำนาม คืออะไรนั้น..? มีเนื้อหามากมาย เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ได้อธิบายแยกย่อยในแต่ละหัวข้ออย่างละเอียด..
นอกจากนี้ ยังมีคำนามแสดงเพศ (Gender of nouns) อีกประเภทหนึ่งที่เราจะต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง..?
======================================
หน้าที่ของคำนาม Functions of Nouns มีอะไรบ้าง..?
สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Nouns คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate เป็นต้น
ทีนี้.. เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น มีหน้าที่อย่างไรบ้าง..?
Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้ คือ
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค (Subject of a verb) และยังทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคอีกด้วย ซึ่งคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานนี้ จะเป็นผู้กระทำกริยา และวางไว้หน้ากริยาเสมอ
Paul teaches English in Thailand. (พอลสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย)
Children play football. (เด็กๆเล่นฟุตบอล)
Jane likes Thai food. (เจนชอบอาหารไทย)
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม จะวางอยู่หลังกริยาและเป็นผู้รับการกระทำจากประธาน โดยแบ่งกรรมของกริยาออกเป็น 2 แบบ คือ
Direct object (กรรมตรง) ซึ่งรับการกระทำจากประธานโดยตรง
The teacher punished the students. (คุณครูทำโทษนักเรียน)
Indirect object (กรรมรอง) เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม
John gave Joy the watch. (จอห์นมอบนาฬิกาข้อมือให้จอย)
3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท (Object of preposition) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทคำไหน ก็จะวางอยู่หลังคำบุพบทคำนั้นเสมอ
o Kim bought the new car for Nid. (คิมซื้อรถคันใหม่ให้นิด)
o Jane looked at John. (เจนมองจอห์น)
o I believe in God. (ผมเชื่อในพระเจ้า)
o Jim gave the laptop to Jai. (จิมให้แล็ปท็อปแก่ใจ)
หมายเหตุ ตามตัวอย่างที่ 1 และ 4 คำนามทำหน้าที่เป็นทั้งกรรมของบุพบทและกรรมรอง
4. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา (Complement of a verb) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้ มักจะตามหลัง verb to be, become
Tom is a dentist. (ทอมเป็นทันตแพทย์)
Jane becomes a star. (เจนกลายเป็นดารา)
John was the winner last year. (จอห์นเป็นผู้ชนะปีที่แล้ว)
5. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม (Complement of an object) เพื่อขยายกรรมให้มีความหมายชัดเจนขึ้น คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม ก็จะอยู่หลังกรรมที่มันขยาย
We chose Jack the leader. (เราเลือกแจคเป็นหัวหน้า)
My mom named her dog Thong-Phun. (แม่ของฉันตั้งชื่อสุนัขว่าทองพูน)
6. ทำหน้าที่เป็นคำนามซ้อนคำนามที่อยู่ข้างหน้า ( In apposition to another noun) เพื่ออธิบายหรือขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย , คั่นระหว่างนามที่อยู่ข้างหน้ากับคำนามที่ซ้อน โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
ซ้อนตามหลังประธานของประโยค
The nurse, Janet has retired. (นางพยาบาล, เจเน็ทเกษียณแล้ว)
My country, Thailand is the land of smiles. (ประเทศของฉัน, ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้ม)
ซ้อนตามหลังกรรมของประโยค
We respect our boss, Mr. Tom. (เราเคารพนายจ้างของเรา, มิสเตอร์ทอม)
I want to see John, my brother. (ผมต้องการพบจอห์น, น้องชายของผม)
7. ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน (An address) ในประโยค
Chai, please close the window. (ชัย, ช่วยปิดหน้าต่างให้หน่อย)
Jack, please speak slowly. (แจค, ช่วยพูดช้าๆหน่อย)
You’re right, Nong. (คุณถูกแล้วหล่ะ, น้อง)
นามเรียกขานจะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ได้ แต่ให้สังเกตการณ์ใช้เครื่องหมาย ,
8. ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของของนามทั่วไป (Possessive case) โดยใช้เครื่องหมาย Apostrophe‘s เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
Tom’s dog is so cute. (สุนัขของทอมน่ารักมาก)
Do you know the hotel’s name? (คุณรู้จักชื่อโรงแรมมั้ย)
เมื่อเรารู้หน้าที่ของคำนาม Function of Nouns ว่าใช้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เราก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น