Past
Simple Tense VS. Present Perfect Tense ใช้ต่างกันอย่างไร
เรื่อง Tense เนี่ย…จะหลบจะหลีกจะเลี่ยงยังไงมันก็ต้องเลี้ยวมาเจอกับมันอยู่ดีค่ะ!
แต่มีสอง Tense ที่พาคนไทยหัวใจอังกฤษทั้งหลายสับสนมานักต่อนักแล้ว
นั่นก็คือ เจ้า Past simple Tense กับ Present
Perfect Tense
เรารู้มาว่า Past Simple ใช้กับเหตุการณ์ในอดีต ส่วน Present Perfect ใช้กับเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาคือ!!…มันมีความเป็นอดีตเหมือนกัน แล้วจะแยกใช้ยังไง?? เอาง่ายๆเลย ลองดูสองภาพด้านบนค่ะ
ภาพซ้ายเป็น Present perfect มีความหมายว่า “ฉันอยู่โรงพยาบาลมา 3 อาทิตย์แล้ว”
ส่วนภาพขวาเป็น Past simple เจ้าหนุ่มหัวทองบอกเพื่อนว่า “ตูเนี่ยไปอยู่ในโรงพยาบาลมา
6 อาทิตย์”
มองจากภาพแล้วพอเห็นความแตกต่างมั๊ยคะ??….ใช่แล้วค่ะ….ภาพซ้ายที่ใช้ Present perfect เขาอยู่มาตั้งแต่ 3 อาทิตย์ที่แล้ว และปัจจุบันก็ยังอยู่
ยังใส่ชุดคนไข้ ให้น้ำเกลืออยู่ แต่ภาพขวาที่ใช้ Past Simple ตอนที่เขาพูด ตัวเขาไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาลแล้ว…ออกมาเที่ยวได้สบายอุราแล้วค่ะ
สรุปคือ…Present perfect พูดถึงเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำอยู่ แต่ Past simple พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดแล้ว จบแล้ว
…
ลองดูกันอีกสักตัวอย่างนึง…
I have lost my key. “ฉันทำกุญแจหาย”
I lost my key, but I found it
just now. “ฉันทำกุญแจหาย แต่เจอแล้วเมื่อกี๊”
นัยยะที่แฝงไว้ ที่ผู้ฟังสามารถอนุมานได้ก็คือ
ประโยคแรก…ทำกุญแจหาย
จนถึงปัจจุบันตอนที่พูดก็ยังหาไม่เจอ
แต่ประโยคหลัง…ทำหาย แต่ตอนที่พูดหาเจอแล้ว
แต่ความแตกต่างมันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ค่ะ!! ถ้าเหตุการณ์ในอดีตที่พูดเนี่ย ไม่ได้บอกเวลาแน่นอนจะใช้
Present perfect ค่ะ แต่ถ้ามีเวลาในอดีตบอกแน่นอนจะใช้ Past
simple เปรียบเทียบจาก
2 ประโยคนี้ค่ะ
I have told him. “ฉันบอกเขาแล้ว”
I told him yesterday. “ฉันบอกเขาแล้วเมื่อวาน”
สองประโยคนี้…..เกิดขึ้นแล้ว…..แต่ ประโยคแรก (Present
perfect) บอกไปแล้ว แต่ตอนไหนไม่รู้ เน้นที่ผลของการกระทำมากกว่าว่า
บอกแล้ว เขาก็จะต้องรู้แล้ว
ส่วนประโยคหลัง (Past simple) บอกเขาไปแล้ว เน้นเวลาแน่นอนด้วยว่า บอกไปเมื่อวานนี้ สรุปคือ…Present
perfect เล่าเหตุการณ์ในอดีตได้ แต่ไม่เวลาบอกแน่นอน แต่
Past simple เล่าเหตุการณ์ในอดีต แต่มีเวลาบอกแน่นอน…
** หลักใหญ่ใจความของความแตกต่างระหว่าง
2 Tense มันก็เป็นด้วยประการฉะนี้ล่ะค่ะ ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น