Verb คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ชนิด
Verb แปลว่า “กริยา” ได้แก่ ”คำที่ใช้แสดงถึงการกระทำ หรือการถูกกระทำของคำที่เป็นประธาน หรือเป็นคำสอดแทรกเข้ามาทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นก็ได้ เพื่อบอกถึงมาลา (mood) วาจก (Voice) และกาล (Tense)”ในภาษาอังกฤษแบ่ง Verb ออกเป็น 5 ชนิด คือ
1.Transitive Verb =สกรรมกริยา คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
Transitive Verb แปลว่าอะไร
Transitive Verb แปลว่า “สกรรมกริยา” หมายถึง “กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ หรือมีกรรมมาขยายตามหลังเสียก่อน แล้วเนื้อความของกริยาตัวนั้นจึงจะฟังเข้าใจกันได้” สกรรมกริยาได้แก่ กริยาต่อไปนี้
give, buy, bring, write, speak, hit, kick, see, look at, order, open, close, wash, clean, etc.
เช่น
My mother bought meat and eggs yesterday.
คุณแม่ของฉันซื้อเนื้อและไข่มาเมื่อวานนี้
My mother bought meat and eggs yesterday.
คุณแม่ของฉันซื้อเนื้อและไข่มาเมื่อวานนี้
Today my mother is going to buy………….at the market.
วันนี้คุณแม่ของฉันจะซื้อ……ที่ตลาด
วันนี้คุณแม่ของฉันจะซื้อ……ที่ตลาด
ประโยคแรก กริยา bought ได้เนื้อความสมบูรณ์ ฟังเข้าใจกันได้เพราะมีกรรมคือ meat และ eggs มารองรับใจความจึงชัดเจนขึ้น
ประโยคหลัง กริยา buy ฟังแล้วสงสัย ไม่ทราบว่า ซื้ออะไร เพราะไม่มีกรรมมารองรับขยายตามหลัง เนื้อความยังไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นสกรรมกริยาจึงต้องให้มีกรรมมารับตลอดไป ใจความของประโยคจึงจะฟังกันรู้เรื่อง (เว้นแต่ผู้พูดและผู้ฟังรู้กันมาก่อนแล้วว่า คุยกันเรื่องอะไร สกรรมกริยาไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้)
คำที่จะมาเป็นกรรม (Object) ของสกรรมกริยาได้
คำที่จะนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นกรรมของสกรรมกริยา (Object of a transitive Verb) ได้นั้น ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
1.นามทุกชนิด (All kinds of Nouns) เช่น
Our country needs the growth and development.
ประเทศของเราต้องการความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา
(growth and development เป็นกรรมของ needs)
ประเทศของเราต้องการความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา
(growth and development เป็นกรรมของ needs)
2.สรรพนาม (Pronoun) เช่น
I told him that he could pass his examination.
ผมบอกเขาว่า เขาสอบไล่ได้
(him เป็น Pronoun มาทำหน้าที่เป็นกรรมของ told)
ผมบอกเขาว่า เขาสอบไล่ได้
(him เป็น Pronoun มาทำหน้าที่เป็นกรรมของ told)
3.กริยาสภาวมาลา (ได้แก่ Infinitive) เช่น
.
These students want to continue their studies in a foreign country.
นักศึกษาเหล่านี้ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ
(to continue เป็นกริยาสภาวมาลา ทำหน้าที่เป็นกรรมของ want)
นักศึกษาเหล่านี้ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ
(to continue เป็นกริยาสภาวมาลา ทำหน้าที่เป็นกรรมของ want)
4.คำกริยาที่เติม ing (Gerund) แล้วนำมาใช้อย่างนาม เช่น
Ever since he has got bad health, he stops smoking cigarettes.
ตั้งแต่เขาไม่สบายนี้ เขาเลิกสูบบุหรี่แล้ว
(smoking เป็น Gerund ทำหน้าที่เป็นกรรมของ stops)
ตั้งแต่เขาไม่สบายนี้ เขาเลิกสูบบุหรี่แล้ว
(smoking เป็น Gerund ทำหน้าที่เป็นกรรมของ stops)
5.วลีทุกชนิด (Phrases) เช่น
She doesn’t know what to do for you.
หล่อนไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้คุณ
(what to do เป็นวลี ทำหน้าที่เป็นกรรม ของ know)
หล่อนไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้คุณ
(what to do เป็นวลี ทำหน้าที่เป็นกรรม ของ know)
6.อนุประโยค (Subordinate Clause) เช่น
I know what he is going to do there.
ผมรู้ว่าเขาจะไปทำอะไรอยู่ที่นั่น
(what he is going to do there เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา know)
ผมรู้ว่าเขาจะไปทำอะไรอยู่ที่นั่น
(what he is going to do there เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา know)
Transitive Verb (สกรรมกริยา) บางตัว แม้มีกรรมมารับหรือมาขยายตามหลังแล้ว ก็หาได้มีเนื้อความสมบูรณ์ไม่ จำเป็นต้องมีคำหรือกลุ่มคำอื่นมาขยายตัวกรรมนั้นอีกทีเสียก่อน แล้วสกรรมกริยาตัวนั้นจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ชัดเจนขึ้น (ไม่คั่งค้าง) คำหรือกลุ่มคำที่มาขยายตามหลังกรรมอีกทีหนึ่งนั้นเรียกว่า “Objective Complement” แปลว่า “คำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังกริยา แล้วทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น (ฟังไม่คั่งค้าง)”
เช่น
The people in this country made him king.
ประชาชนในประเทศนี้ตั้งให้เขาเป็นพระราชา
(king เป็น Noun ทำหน้าที่ขยาย him จึงเป็น Objective Complement)
The people in this country made him king.
ประชาชนในประเทศนี้ตั้งให้เขาเป็นพระราชา
(king เป็น Noun ทำหน้าที่ขยาย him จึงเป็น Objective Complement)
They set the prisoners free.
พวกเขาได้ปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระ
(free เป็น Adjective ทำหน้าที่ขยาย prisoners จึงเป็น Objective Complement)
พวกเขาได้ปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระ
(free เป็น Adjective ทำหน้าที่ขยาย prisoners จึงเป็น Objective Complement)
I found Susan walking under the tree in the garden.
ผมเห็นซูซานเดินอยู่ใต้ต้นไม้ในสวน
(walking เป็น Participle ทำหน้าที่ขยาย Susan จึงเป็น Objective Complement)
ผมเห็นซูซานเดินอยู่ใต้ต้นไม้ในสวน
(walking เป็น Participle ทำหน้าที่ขยาย Susan จึงเป็น Objective Complement)
We wish the thief to be killed.
เราอยากให้ขโมยคนนั้นถูกฆ่าตายเสีย
(to be killed เป็น Infinitive ทำหน้าที่เป็น Objective Complement)
เราอยากให้ขโมยคนนั้นถูกฆ่าตายเสีย
(to be killed เป็น Infinitive ทำหน้าที่เป็น Objective Complement)
The sun keeps us warm.
ดวงอาทิตย์ทำให้เราอบอุ่น
(warm เป็น Adjective ทำหน้าที่เป็น Objective Complement)
ดวงอาทิตย์ทำให้เราอบอุ่น
(warm เป็น Adjective ทำหน้าที่เป็น Objective Complement)
ข้อสังเกต : คำที่จะมาทำหน้าที่เป็น Objective Complement ได้นั้น ได้แก่ Adjective, Noun, Participle, Infinitive เท่านั้น
2.Intransitive Verb =อกรรมกริยา คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
Intransitive Verb แปลว่าอะไร
Intransitive Verb แปลว่า “อกรรมกริยา” ได้แก่ “กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมตามมา หรือมีกรรมมารองรับ เพราะมีเนื้อความสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ฟังเข้าใจได้ ปราศจากข้อสงสัยไม่คั่งค้าง” กริยาต่อไปนี้จัดอยู่ในประเภทอกรรมกริยา คือ
|
|
|
เช่น
Who comes ? ใครมา ?
(หลัง comes ไม่ต้องมีกรรมมารับเพราะได้เนื้อความสมบูรณ์)
Who comes ? ใครมา ?
(หลัง comes ไม่ต้องมีกรรมมารับเพราะได้เนื้อความสมบูรณ์)
My sister dances very well.
น้องสาวของผมเต้นรำได้ดีมาก
(หลัง dances ไม่ต้องมีกรรมมารับเพราะได้เนื้อความสมบูรณ์แล้ว ส่วน very well ที่ตามหลังอยู่นั้น ไม่ใช่กรรม แต่เป็น Adverb)
น้องสาวของผมเต้นรำได้ดีมาก
(หลัง dances ไม่ต้องมีกรรมมารับเพราะได้เนื้อความสมบูรณ์แล้ว ส่วน very well ที่ตามหลังอยู่นั้น ไม่ใช่กรรม แต่เป็น Adverb)
อย่างไรก็ตาม อกรรมกริยาบางตัวแม้จะไม่ต้องการกรรมมารับโดยตรง แต่ก็ยังต้องพึ่งหรืออาศัย คำหรือกลุ่มคำอื่นมาช่วยขยายตามหลังอยู่ แล้วอกรรมกริยาตัวนั้นจึงจะฟังได้เนื้อความชัดเจนขึ้น ไม่ชวนให้สงสัย แต่คำที่มาขยายตามหลังอกรรมกริยานั้น ไม่ได้มาในฐานะเป็นตัวกรรม (Object) แต่มาในฐานะเป็นตัวช่วยเกื้อกูลให้อกรรมกริยาตัวนั้นฟังเข้าใจความหมายกันได้ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า ”Subjective Complement” แปลว่า ”ตัวขยายอกรรมกริยา เพื่อให้ประธานของประโยคมีใจความสมบูรณ์”
อกรรมกริยา (Intransitive Verb) ที่ยังต้องอาศัย Subjective Complement แล้วเนื้อความจึงจะสมบูรณ์นั้น เท่าที่นิยมใช้กันอยู่ได้แก่กริยาต่อไปนี้
|
|
(ที่แปลไว้นี้แปลตามความหมายที่นำมาใช้อย่างอกรรมกริยา ที่เรียก Subjective Complement เท่านั้น) ตัวอย่างประโยค เช่น
|
คำที่เป็นตัวเข้มไว้ทั้งหมดนี้ดูผิวเผิน เหมือนทำหน้าที่เป็น Object แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ แท้ที่จริงแล้วมันก็ทำหน้าที่เป็น Subjective Complement ธรรมดานี้เองให้กับตัวประธานที่อยู่ข้างหน้ามีความสมบูรณ์ ทำให้ฟังไม่คั่งค้าง
Finite Verb แปลว่าอะไร
Finite Verb แปลว่า “กริยาแท้” หมายถึง “กริยาที่นำมาใช้เป็นส่วนสำคัญของประโยค อาจกล่าวได้ว่า ทุกข้อความที่เราพูดหรือเขียนออกไปนั้น หากขาดเสียซึ่งกริยาแท้ (Finite Verb) แล้วข้อความนั้นจะเป็นประโยคขึ้นมาไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นกริยาแท้จึงเป็นหัวใจหรือส่วนสำคัญของประโยคทีเดียว และให้สังเกตไว้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า กริยาแท้นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม Tense ต่างๆ ตลอดถึงตามตัวประธานที่ไปกระทำหรือแสดงกริยาตัวนั้นๆ ด้วย” ตัวอย่างเช่น
Who comes ? ใครมา
They came early. พวกเขามาแต่เช้า
That boy is coming early. เด็กคนนั้นก็มาแต่เช้า
The girls are coming early. เด็กหญิงก็มาแต่เช้า
We have come here early. เราได้มาที่นี่แต่เช้า
She has come here together. หล่อนก็มาที่นี่เหมือนกัน
They came early. พวกเขามาแต่เช้า
That boy is coming early. เด็กคนนั้นก็มาแต่เช้า
The girls are coming early. เด็กหญิงก็มาแต่เช้า
We have come here early. เราได้มาที่นี่แต่เช้า
She has come here together. หล่อนก็มาที่นี่เหมือนกัน
(Come ซึ่งเป็นกริยาในประโยคข้างบนนี้ จะเห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม Tense และประธานของประโยคนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่า come เป็นกริยาแท้ (Finite Verb) นั่นเอง)
Non-Finite Verb แปลว่าอะไร
Non-Finite Verb แปลว่า “กริยาไม่แท้” หมายถึง “คำกริยาที่ไม่ได้นำมาใช้อย่างกริยาแท้ แต่ถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นอย่างอื่นแทน เช่น เป็น Noun บ้าง, เป็น Adjective บ้าง, หรือเป็น Adverb บ้าง” ในภาษาอังกฤษแบ่งกริยาไม่แท้ (Non-Finite Verb) ออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.Infinitive =กริยาที่มี to นำหน้า (to + Verb 1) เช่น to walk etc.
2.Gerund =กริยาที่เติม ing (Verb + ing) เช่น walking, sleeping, smoking etc.
3.Participle =กริยาที่เติม ing เช่น eating, coming etc.หรือเป็นกริยาช่อง 3 เช่น eaten, come, cleaned, spoken etc.
2.Gerund =กริยาที่เติม ing (Verb + ing) เช่น walking, sleeping, smoking etc.
3.Participle =กริยาที่เติม ing เช่น eating, coming etc.หรือเป็นกริยาช่อง 3 เช่น eaten, come, cleaned, spoken etc.
ลักษณะของกริยาตัวใดเป็นกริยาแท้ (Finite Verb) หรือกริยาไม่แท้ (Non-Finite Verb) นั้น สังเกตได้ที่ตำแหน่งการวางไว้ในประโยค กล่าวคือ กริยาตัวที่วางอยู่หน้าสุดจะเป็นกริยาแท้ กริยาสำคัญหรือกริยาใหญ่ ส่วนกริยาตัวที่วางเป็นอันที่สองต่อไปเรื่อยๆ จะเป็นกริยาไม่แท้ เช่น
We want to develop our country in many ways.
เราต้องการพัฒนาประเทศของเราในทุกกรณี
(want เป็นกริยาแท้ to develop เป็น Infinitive กริยาไม่แท้)
เราต้องการพัฒนาประเทศของเราในทุกกรณี
(want เป็นกริยาแท้ to develop เป็น Infinitive กริยาไม่แท้)
She likes reading poetry.
หล่อนชอบอ่านบทกวี
(likes เป็นกริยาแท้ reading เป็น gerund กริยาไม่แท้)
หล่อนชอบอ่านบทกวี
(likes เป็นกริยาแท้ reading เป็น gerund กริยาไม่แท้)
He heard me shutting the window.
เขาได้ยินเสียงผมปิดหน้าต่าง
(heard เป็นกริยาแท้ shutting เป็น Participle กริยาไม่แท้)
เขาได้ยินเสียงผมปิดหน้าต่าง
(heard เป็นกริยาแท้ shutting เป็น Participle กริยาไม่แท้)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น