บทที่ 7 Adverbs คืออะไร มีหน้าที่อะไร
Adverbs แปลว่า “กริยาวิเศษณ์” (บางตำราเรียก “คำวิเศษณ์” เฉยๆ ก็ได้ ) มีไว้สำหรับ “ใช้ทำหน้าที่ขยายกริยา, ขยายคุณศัพท์, ขยายกริยาวิเศษณ์(ด้วยกันเอง) ขยายประโยค, และขยายสรรพนาม บุรพบทวลี และจำนวนนับ” ดังจะขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า ขยายได้อย่างไรมาประกอบการอธิบายพอสังเขปดังต่อไปนี้
ขยายกริยา เช่น : He works hard every day.
เขาทำงานหนักทุก ๆ วัน
(hard เป็น Adverb ขยายกริยา works)
ขยายคุณศัพท์ เช่น : These students are very intelligent.
นักศึกษาเหล่านี้มีสติปัญญามาก
(Very เป็น Adverb ขยายคุณศัพท์ intelligent)
ขยายกริยาวิเศษณ์ เช่น : She drives very carefully.
หล่อนขับด้วยความระมัดระวังมาก
(very เป็น Adverb ขยาย Adverb “carefully”)
ขยายทั้งประโยค เช่น : Fortunately, no one complained of me.
โชคดีแท้ ๆ ไม่มีผู้ใดบ่นถึงผมเลย
(fortunately เป็น Adverb ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยคที่ตามหลัง)
.
ขยายสรรพนาม เช่น : What else can I say?
ผมพูดอะไรอีกได้ไหม?
(else เป็น Adverb มาขยายสรรพนาม what)
ขยายบุรพบทวลี เช่น : You ought to go right to the end of the rood.
คุณควรจะไปทางขวาของสุดถนนนี้
(right เป็น Adverb มาขยายบุรพบทวลี to the end of the road)
ขยายจำนวนนับ เช่น : We go to Bangsaen almost every Sunday.
เราไปเที่ยวบางแสนเกือบทุกวันอาทิตย์
(almost เป็น Adverb มาขยายจำนวนนับ every)
********************************************
ชนิดของ Adverb
ชนิดของ Adverb
รูปศัพท์หรือแหล่งกำเนิดของ Adverb
รูปศัพท์หรือแหล่งกำเนิดของ Adverb
รูปศัพท์หรือแหล่งกำเนิดของ Adverb มีมาได้ดังนี้
- 1. มีรูปมาจากนามโดยการเติม ly ข้างหลังคำนั้น เช่น
Noun เป็น Adverb คำแปล
Day daily ประจำวัน
- 2. มีรูปมาจากนามโดยการเติม ward หรือ wards ที่ท้ายนามนั้น เช่น
Noun เป็น Adverb คำแปล
Back backwards ข้างหลัง
- 3. มีรูปมาโดยกำเนิดของตัวเอง จะต่อเติมหรือตัดตอนแม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ได้แก่
here, there, hard, late, always, well, often, too, very, seldom, where, when, hence,
whence, how, why, then, once, twice, sometimes.
- 4. มีรูปจากการรวมบุรพบทเข้ากับนาม แล้วนำมาใช้เป็น Adverb ได้แก่
to + day = today วันนี้
to + morrow = tomorrow วันพรุ่งนี้
in + side = inside ข้างใน
out + side = outside ข้างนอก
- 5. มีรูปมาจากการเติม A อาคม (Affix) เข้าข้างหน้านามหรือกริยา แล้วนามหรือกิริยาตัวนั้นจะกลายเป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ทันที เช่น
a + way = away ไม่อยู่ จากไป ไกลออกไป
6. มีรูปมาจากคุณศัพท์โดยการเติมปัจจัย (Suffix) ly ลงข้างหลังแล้วคุณศัพท์ตัวนั้นก็กลายเป็น Adverb ทันที แต่การเติมปัจจัย ly มีหลักเกณฑ์ดังนี้
.
1) ถ้า Adjective ตัวนั้นลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ly เช่น
เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล
easy ง่าย easily อย่างง่าย
heavy หนัก heavily อย่างหนัก
2) ถ้า Adjective ลงท้ายด้วย e และหน้า e เป็น I ให้เปลี่ยน e เป็น y เพราะเมื่อเปลี่ยนแล้วเท่ากับ ly เช่น
เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล
suitable เหมาะสม suitably อย่างเหมาะสม
simple ง่าย simply อย่างง่ายๆ
3) นอกจากกฎที่กล่าวมา เมื่อต้องการให้ Adjective เป็น Adverb ให้เติม ly ที่ท้าย Adjective ตัวนั้นได้เลย ไม่ต้องลังเลใจ เช่น
เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล
bad เลว badly อย่างเลว
brave กล้าหาญ bravely อย่างกล้าหาญ
7. Adverb บางตัวมี 2 รูป แต่ความหมายต่างกันได้แก่ Adverb เช่น
hard ยาก, หนัก hardly แทบจะไม่
late สาย lately เมื่อเร็ว ๆ นี้
ADVERB และ ADJECTIVE มีรูปเหมือนกัน
ADVERB และ ADJECTIVE มีรูปเหมือนกัน
คำที่มีรูปศัพท์เหมือนกันทั้งที่ใช้เป็น Adverb และ Adjective ในภาษาอังกฤษที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ
fast เร็ว first ที่หนึ่ง fair ยุติธรรม
hard หนัก deep ลึก long นาน ยาว
low ต่ำ high สูง right ถูก
loud ดัง wrong ผิด straight ตรง
enough พอ short สั้น late สาย etc.
.
เมื่อคำเหล่านี้มีรูปเหมือนกันทั้งที่ใช้เป็น Adverb และ Adjective จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นอันไหนนั้นให้ดูที่ตำแหน่งการวางในประโยค คือ
ก. ถ้าวางไว้หน้านามหรือหลัง Verb to be เป็น Adjective
ข. ถ้าวางไว้หลังกริยา (ทั่วไป) เป็น Adverb เช่น
เป็น Adjective เป็น Adverb
This is a fast train. This train runs fast.
นี่คือ ขบวนรถเร็ว รถไฟขบวนนี้วิ่งเร็ว
Adverbial Particle
Adverbial Particle คืออะไร
Adverbial Particles ได้แก่ คำบุรพบท (Preposition) บางคำที่นำมาใช้ต่อท้ายกริยา (verb) บางตัว แล้วทำให้บุรพบทตัวนั้น Adverb ไป เราจึงเรียกบุรพบทที่ใช้ตามหน้าที่ว่า “Adverbial Particle” แปลว่า หน่วยคำที่ใช้ร่วมกับกริยาแล้วทำหน้าที่เป็น Adverb
Preposition ที่นำมาใช้เป็น Adverbial Particle เท่าที่พบเห็นบ่อยได้แก่ in on up by over away down round back through
Particles เหล่านี้เมื่อนำมาใช้ต่อท้ายกริยาแล้ว แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1) ชนิดที่ใช้ต่อท้ายแล้วให้ความหมายคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ฟังเข้าใจง่าย เช่น
The pupils are writing a ;sentence down.
.
นักเรียนกำลังเขียนประโยคลงไป
2) ชนิดที่นำมาใช้ต่อท้ายแล้ว ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ฟังเข้าใจได้ยากขึ้น เช่น
His offer is good reasonable, so I give in him.
ข้อเสนอของเขามีเหตุผลดีมาก ดังนั้นผมจึงยอมแพ้เขา
***************
Two – Word Verb of Separable and Inseparable
Two – Word Verb of Separable and Inseparable
การนำเอา Adverbial Particle (แท้ที่จริงก็คือการนำเอาบุรพบทนั้นเอง) ไปต่อท้ายกริยา หรือใช้คู่กับกริยา ซึ่งเรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่า Two – word verb (กริยาคู่ หรือ Phasal verb หรือ Verb ที่เป็นวลี) มีหลักการวางตำแหน่งดังนี้
- ชนิดที่แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้เมื่อมีกรรมมารับ (Two – Word Verb of Separable When follwed by object)
- ชนิดที่แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้ ได้แก่ Two – Word Verb ต่อไปนี้คือ
bring aboutทำให้เกิด, ก่อเหตุfigure outคะเน, ประมาณbring upสั่งสอน, แนะนำfill outกรอกรายการblow upระเบิดออกมาfind outสำรวจ, ไม่พบburn downไหม้เป็นจุลhave onสวม, มีติดตัวcall offเลิก, บอกเลิกhold offขัดขวางcall upโทรศัพท์ไปหาleave outข้ามไป, ยกเว้นcarry onดำเนิน, ทำต่อไปlook overตรวจสอบcarry outบริหาร, ดำเนินการlook upค้นหาcross outตัดทิ้ง, ยกเลิกmake upปั้นเรื่อง, แต่งdo overทำอีก, แต่งใหม่make overทำให้เป็นเรื่องใหญ่pick outเลือก, คัดpick upเก็บขึ้นมาpoint outชี้แจงturn offปิด (น้ำ, ไฟ, วิทยุ)put offเลื่อนไปthink overพิจารณาput outดัน, ไล่ออกtry onทดสอบtake upยึดครอง, รับทำtry outตรวจ, ทดสอบtake overปรึกษาหารือturn onเปิด (น้ำ, ไฟ, วิทยุ)wear outชำรุดจนใช้ไม่ได้etc..-ข้อสังเกต :a) ถ้าตัวกรรมนั้นเป็นคำนาม (ไม่ใช่สรรพนาม) แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้ เช่นแยกก็ได้ : They’ve called the game off. ไม่แยก : They’ve called off the game. พวกเขาได้เลิกเล่นกีฬาแล้ว แยกก็ได้ : I called Mary up yesterday. ไม่แยก : I called up Mary yesterday. ผมโทรศัพท์ไปหาแมรี่เมื่อวานนี้ แยกก็ได้ : He looked the meaning of this word up. ไม่แยก : He looked up the meaning of this word. เขาค้นดูความหมายของคำนี้ b) ถ้าตัวกรรมนั้นเป็นบุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) ไม่ใช่คำนาม จะต้องแยก Adverbial Particle ไปเรียงหลังกรรม คือสรรพนามนั้นตลอดไป ห้ามวางไว้หน้าสรรพนามโดยเด็ดขาด เช่นถูก: I called them up. (อย่าใช้ : I called up them.) ผมโทรศัพท์สั่งพวกเขาแล้ว ถูก: She picked it out. (อย่าใช้ : She picked out it.) หล่อนคัดเลือกเอาแล้ว ถูก: Can you bring it out ? (อย่าใช้ : Can you bring out it ?) คุณเอาออกมาแสดงให้ดูได้ไหม ?
- ชนิดที่แยกไม่ได้เด็ดขาด ไม่ว่าจะมีกรรมมารับหรือไม่ก็ตาม (Two – Word Verb of Inseparable when followed by object or not)
- ชนิดที่แยกไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้จะมีกรรมตามหลังหรือไม่ก็ตาม ได้แก่ Two – Word verb ต่อไปนี้
bear onเกี่ยวข้อง, ว่าด้วยhear ofได้ยินพูดถึง, รู้เรื่องbreak inขัดจังหวะ, ฝึกฝนhit onค้นพบโดยบังเอิญbreak intoบุกรุก, โจรกรรมkeep toดำเนินต่อไปตามวิถีทางcall forเรียกหา, ไปรับlive onเลี้ยงชีวิตด้วยcall on (บุคคล)ไปเยี่ยม, แวะเยี่ยมlook afterดูแล, เฝ้าcall at (สถานที่)ไปเยี่ยม, หยุดlook forหา, ค้นหาcare forสนใจ, เอาใจใส่look intoสอบสวนอย่างละเอียดcome acrossพบโดยบังเอิญlook acrossโดยบังเอิญcount onพึ่งพาอาศัย, เชื่อมั่นrun againstพบ, ติดต่อกับdo withoutทำต่อไปโดยปราศจากrun afterวิ่งไล่ตามfigure onคาดหวังrun overทับ, ทบทวนget off่ลงจากรถ, ขึ้นจากเรือsee aboutดูแล, เอาใจใส่get onขึ้นรถ, ลงเรือsee toรับเอาเป็นภาระget overหายจากป่วยไข้, หมดsettle onเห็นชอบด้วยget aroundไปไหนมา, หลีกเลี่ยงstand forไปแทน, ใช้แทนgo overทบทวน, ทำซ้ำstick toอดทน, ยึดมั่นgo withไปด้วยกัน, ร่วมกับdisagree withไม่เห็นด้วยgo withoutขาดไป, ปราศจากrun intoชน, ปะทะกันetc.---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น