เอาง่าย ๆ เลย อย่าง…
I used to + V
I’m used to + Ving
I’m used to + Ving
หน้าตาก็คล้ายกัน ทำไมอันนึงตามด้วย V อันนึงตามด้วย Ving ตอบบ!!
เออ น่าคิด ช่างถามดีครับ (แต่อย่าขึ้นเสียงได้มั้ยยย!) ทริคของผมก็คือ ลองแปลเป็นไทยดูครับ
I used to แปลว่า “เคย”
I’m used to แปลว่า “ชิน”
I’m used to แปลว่า “ชิน”
เคยทำ เคยเล่น เคยเอา – ฟังดูปกติดีใช่ป๊ะ แล้วถ้า..
ชินทำ ชินเล่น ชินเอา – อันนี้คุ้นไหม ..แน่นอนว่าฟังดูทะแม่ง ๆ ไม่คุ้นหู
ชินทำ ชินเล่น ชินเอา – อันนี้คุ้นไหม ..แน่นอนว่าฟังดูทะแม่ง ๆ ไม่คุ้นหู
เห็นมั้ยว่า.. แม้กระทั่งคำว่า “ชิน” ในภาษาไทยก็ไม่ได้ตามด้วยกริยาทันที แต่มักจะมาคู่กับ Ving เหมือนภาษาอังกฤษเด้ะ ๆ เช่น ชั้นชินกับการทำนู่นทำนี่, กุชินกับการไปเล่นกีฬา …ไอ้คำว่า “กับการ” ตัวนี้แหละ ที่ทำให้โครงสร้างภาษา (ทั้งไทยและอังกฤษ) มันต้องเติม ing เพราะ do แปลว่าทำ ส่วน doing ก็คือ การทำ นั่นเอง! เพราะงั้นถ้าไปใส่ประโยค I’m used to doing.. ก็คือ ชั้นชินกับการทำ..(อะไรบางอย่าง) แต่ถ้าเป็น I’m used to do (ชั้นชินทำ) – แค่ฟังดูก็รู้แล้ว ว่าไม่ใช่ มันตลกทั้งไทยและอังกฤษเลย!
สิ่งที่ผมอยากจะสื่อก็คือว่า…ของบางอย่างลองเทียบกับหลักภาษาไทยดูก็ได้ครับ บางอย่างมันก็ make sense ไปในทำนองเดียวกันนะเออ! แต่ไม่รับประกันทุกกฎน้าาาา
#หนังสือ #มีขายแล้ว #เล่มละ160 #ในงานเท่านั้น จะพิมพ์ให้ยากทำไมเนี่ย! (55) เล่มละ 160 ในงานเน้อ จากราคาปกติ 199- เจอพวกเราวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคมนี้จ้า ไปแจกลายเซ็นแน่นอน ที่บูธ H03 Plenary Hall ศูนย์สิริกิติ์จ้า
ปล. งดหื่น 7 วัน ตอนนี้ลูกเพจขวัญกระเจิงหมดแล้ว 555+
นายทีม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น