วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ที่มาของคำว่า Long Live the King

เพิ่มคำอธิบายภาพ
“Long Live the King” ไปที่ไหนก็เจอ ได้ยินเค้าพูดกันมา เราก็พูดตามกันไป แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า ‘เอ๊ะ..ประโยคนี้มันถูกแล้วหรอ’ (โรงเรียนไม่ยักกะเคยสอนเขียนแบบนี้เลย) นี่มันแกรมม่าร์ไหนหว่า ยิ่งอ่านยิ่งมึน เอาละวาระโอกาสดี ๆ แบบนี้ ผมขอมาอธิบายให้หายสงสัยกันดีกว่า จะได้ไปบอกรักพ่อ(หลวง) กันได้อย่างเต็มปากเต็มคำเต็มใจ ไม่ใช่เพราะท่อง ๆ กันมานะจ๊ะ
■ ทำไมไม่เติม s ใน Long Lives the King?
ถึงแม้ว่าประธานจะเป็น The King แต่จริง ๆ ประโยคนี้นี่มาจากประโยคอวยพรที่ว่า May the King live long จึงไม่ต้องเติม s แต่ถ้าเป็นประโยคธรรมดา ๆ ทั่วไปอย่าง The King lives long. (อันเนี๊ย ต้องเติม s) เพราะงั้น Long Live the King. น่ะถูกแล้ว ไม่ใช่ Long Lives the King. นะ (แล้วใครยังคิดว่าประธานคือ Long นี่ พ่อตบดิ้นเลย!)
ว่าแต่ทำไมการจัดเรียงประโยคมันแปลก ๆ ละคะ?? – เดี๋ยว ๆ ยังไม่จบ จัยร่ม ๆ
■ ตกลงว่า live ในที่นี้คือ ลิฟว์หรือไลฟว์?
นี่ยังสับสนเรื่อง live(ลิฟว์) กับ live(ไลฟว์) กันอยู่อีกเหรอเนี่ยย…พูด!!! – จริง ๆ แล้ว คำนี้อ่านได้ 2 แบบนะ แล้วก็มี 2 ความหมายด้วย อ่านผิดที..ชีวีบรรลัยเลย (บรรลัยมานานแล้ว 55)
1) อ่านว่า Live (ลิฟว์) แปลว่า ‘มีชีวิตอยู่’ เช่น I live here. (ชั้นอยู่ที่นี่)
2) อ่านว่า Live (ไลฟว์) จะแปลว่า ‘สด’ เหมือน Live concert อะไรงี้
แต่ในประโยคนี้ความหมายแรกนะจ๊ะ
■ ทำไมประโยคขึ้นต้นด้วย Long (หาก long ไม่ใช่ประธาน)?
เป็นคำถามที่ดีครับ! ประโยคสไตล์นี้เค้าเรียกว่า Inversion (เอา Verb มาก่อน Subject) ก็อย่างที่บอกว่าประโยคดั้งเดิมมันมาจาก May the King live long. (ขอให้พระองค์ทรงมีอายุยืนนาน) และเนื่องจาก(ในทางภาษาศาสตร์) เค้าต้องการความสละสลวยและเน้นย้ำความหมาย เค้าจึงสลับเอา Long ไปไว้ข้างหน้า เพื่อเน้นย้ำ แถมละ May ออก(ซะอย่างงั้น) ก็เลยกลายเป็น Long Live the King! (ลอง ลิฟว์ เดอะ คิง) อย่างที่เราพูดติดปากกันนั่นเองจ้า
วันพ่อปีนี้พวกผมไม่มีของขวัญอะไรที่พิเศษ นอกจากหัวใจดวงน้อย ๆ ที่ขอให้พ่อหลวงของคนไทยทรงมีพลานามัยแข็งแรง อายุยิ่งยืนนานครับ
นายทีม Ft. นายต่ายน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น