วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

phrasal verbs (กริยาวลี)



Phrasal verbs
หรือ กริยาวลี คือกลุ่มคำกริยาที่ประกอบไปด้วย คำกริยา (verb)และคำบุพบท (preposition) เมื่อรวมกันแล้วความหมายมักจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น
give up   แปลว่า   เลิก, หยุด     (เราไม่สามารถแปล give ว่า ให้ และ up แปลว่า ขึ้น แล้วนำมารวมกันแปลว่า ให้ขึ้นได้)
come across
แปลว่า พบโดยบังเอิญ ( come = มา, across = ข้าม)
ตัวอย่างอื่นๆเช่น
call off           ยุติ, ยกเลิก                        look up         ค้นหา
look after     
ดูแล                                  turn into       กลายเป็น
carry on       
ทำต่อไป                           turn up         ปรากฎตัว
Phrasal verbs แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบ Separable verbs คือ กริยาวลีที่สามารถแยก verb และ preposition ได้ซึ่งมักเป็นกริยาวลีที่ต้องการกรรม เช่น   turn on, turn off, take off, try on, etc. เช่น
  • You must take off your shoes before entering the room.
สามารถเขียนได้ว่า
  • You must take your shoes off before entering the room.
  • Please turn off the light. หรือ Please turn the light off.
  • You can try on the shirt. หรือ You can try the shirt on.
** ในกรณีที่กรรมเป็นคำสรรพนามจะต้องวางไว้หน้าคำบุพบทเสมอ เช่น
  • You can try it on. จะเขียนว่า You can try on it. ไม่ได้
  • Please turn it off จะเขียนว่า Please turn off it ไม่ได้
** ถ้าหากว่า กรรมเป็นกลุ่มคำที่เป็นยาวๆ จะไม่สามารถวางไว้หน้าบุพบทได้ ให้วางไว้หลังกริยาวลีเสมอ เช่น
  • He gave away every book that he possessed. (ถูกต้อง)
  • He gave every book that he possessed away. (ผิด)
2. แบบ inseparatable verbs คือกริยากลุ่มที่ถ้ามีกรรมมารับจะไม่สามารถแยก verb กับ preposition ออกจากกันได้ ต้องวางกรรมไว้หลังสุด เช่น
  • The teachers have to look after students at school.
    ไม่สามารถเขียนว่า The teachers have to look students after at school.
ในบางครั้งกริยาวลีอาจจะเป็นแบบ three-word verb คือมีการใช้คำบุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น
put up with             อดทนกับ                catch up with                    ตามทัน
look down to          
ดูถูก                        run out of                หมด
ตัวอย่างประโยค เช่น
  • We are about to run out of water.
    พวกเรากำลังจะไม่มีน้ำ
  • I can’t put up with that noise any longer.
    ฉันทนเสียงนั่นต่อไปไม่ได้แล้ว
** มีอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ กริยาบางตัวที่ตามด้วยคำบุพบทจะไม่ใช่ กริยาวลี วิธีการแยกแยะระหว่างกริยาวลีและกริยาที่ตามด้วยคำบุพบทคือ กริยาที่ตามด้วยคำบุพบท คือ กริยาที่มีคำบุพบทแต่ไม่เปลี่ยนความหมายของคำกริยานั้น เช่น agree with ก็ยังคงมีความหมายเดิมของ agree และ with คือ เห็นด้วยกับหรือ wait for ก็ยังแปลว่า รอ
แต่กริยาวลี คือ กลุ่มคำที่ประกอบไปด้วย คำกริยา และ บุพบท โดยที่จะให้ความหมายใหม่ขึ้นมา เช่น ask out ไม่ได้มีเค้าความหมายเดิมของ ask และ out แต่จะแปลว่า ชวนออกไปข้างนอกหรือ run into แปลว่า พบ(ใครคนหนึ่ง)โดยบังเอิญ

การเข้าใจความหมายของกริยาวลีจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับหลายๆคนเพราะมันมีความหมายที่ไม่ใช่ความหมายเดิมนั่นเอง วิธีการเดียวก็คือต้องเจอบ่อยๆใช้บ่อยๆจึงจะจำได้เอง ^^

****************************************************************

ตัวอย่าง Phrasal Verb with COME


กริยาวลี ที่มีคำว่า COME


Come across
ความหมายที่ 1 : เจอโดยบังเอิญ
ตัวอย่างประโยค: I CAME ACROSS my old school reports when I was clearing out my desk.( ฉันบังเอิญเจอรายงานเก่า ๆ สมัยเรียน ตอนทำความสะอาดโต๊ะ

ความหมายที่ 2: คนอื่นเห็นคุณเป็นคนอย่างไร
ตัวอย่างประโยค: : He CAME ACROSS as shy because he spoke so quietly.( ดู ๆ แล้วท่าทางเขาคงเป็นคนขี้อายนะ เพราะเขาพูดเสียงเบามาก )

ความหมายที่ 3: ยอมมีเซ็กซ์กับใครบางคน
ตัวอย่างประโยค: I was surprised when she CAME ACROSS on the first night.( ผมค่อนข้างแปลกใจนะเมื่อเธอยอมมีเซ็กซ์ตั้งแต่คืนแรกเลย)

Come Apart
ความหมาย: แตกเป็นเสี่ยง ๆ หรือ แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย
ตัวอย่างประโยค: It CAME APART when I tried to lift it off the floor and I had to glue it back together. ( มันหลุดออกจากกันเลย ตอนฉันพยายามยกมันขึ้นจากพื้นและฉันก็ต้องใช้กาวติดมันเข้าไปอย่างเดิม )

Come back
ความหมาย: : กลับมา -  กลับไป
ตัวอย่างประโยค: I left work and CAME BACK home early.( ฉันออกจากที่ทำงานและกลับบ้านเร็วขึ้น )


Come down
ความหมาย:  ตกลงมา เช่น พูดถึง ฝน (Rain)
ตัวอย่างประโยค: Just look at the rain COMING DOWN! I'm not going out in that.( แค่ดูฝนทำท่าจะตกลงมาแล้ว ฉันไม่ออกไปข้างนอกหรอกนะ )

ความหมาย:  หมายถึงการเดินทาง เช่น “ แวะมาเยี่ยม /  แวะมาหา “
ตัวอย่างประโยค: When you're next in London, COME DOWN and see us. ( ถ้าคุณมาลอนดอนคราวหน้า แวะมาหาเรามั่งสิ )


Come From

ความหมาย: มาจาก  หมายถึง เมืองหรือประเทศ ที่คุณเกิด  (Country or town where you were born )
ตัวอย่างประโยค: She COMES FROM Somalia.หล่อนมาจาก โซมาเลียจ้ะ

Come by
ความหมาย: แวะมา (Visit ) ใช้กับเรื่อง
ตัวอย่างประโยค: I'll COME BY after work and see if you need any help. เดี๋ยวฉันจะแวะมาอีกหลังเลิกงาน เผื่อคุณมีอะไรให้ช่วย

ความหมาย: หามาได้ หรือ ได้มา (Acquire )
ตัวอย่างประโยค: How did you COME BY that Rolex?เฮ้ย คุณได้นาฬิกาโรเล็กซ์นั้นมายังไงอ่ะ

Come on

ความหมาย: เป็นการให้กำลังใจ Encouragement
ตัวอย่างประโยค: COME ON; don't give up now when you're so close to finishing.
เฮ้ย ไม่เอาน่า......คุณจะเลิกล้มไม่ได้ เพราะคุณมาถึงจุดที่ใกล้สำเร็จแล้ว
ความหมาย:เริ่มมีอาการป่วย Start an illness
ตัวอย่างประโยค:I've got a bit of a headache. I hope it doesn't mean I've got flu COMING ON.
ผมรู้สึกปวดหัวนิดหน่อย หวังว่าผมคงไม่ได้เป็นไข้หวัดนะเนี๊ยะ
ความหมาย: เริ่มทำงาน  / เริ่มใช้ได้แล้ว ใช้กับพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ  (machines, etc)

ตัวอย่างประโยค: The central heating COMES ON automatically an hour before I have to get up.เครื่องทำความร้อนส่วนกลาง เริ่มทำงาน  อย่างอัตโนมัติหนึ่ง ชั่วโมงก่อนที่ฉันต้องตื่นนอน

(ยังมีต่อ)

3 ความคิดเห็น:

  1. บทความดีมากๆค่ะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษจะคอยติดตามบล็อกพี่เมย์นะคะ

    ตอบลบ
  2. บทความดีมากๆค่ะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษจะคอยติดตามบล็อกพี่เมย์นะคะ

    ตอบลบ
  3. มีประโยชน์มากๆค่ะสำหรับผู้สนใจภาษาอังกฤษจะคอยติดตามบล็อกของพี่เมย์นะคะ

    ตอบลบ